การศึกษาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แบบความเป็นผู้นำาของผู้บริหารโรงเรียน 2) ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างแบบความเป็นภาวะผู้นำาของผู้บริหารและทักษะการบริหารกับความผูกพันของครูในโรงเรียนประถมศึกษา และ 4) ปัจจัยการบริหารงานที่สัมพันธ์กับความผูกพันของครูและปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ความผูกพันครูต่อโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูสังกัดสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 จำานวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อเกี่ยวกับภาวะผู้นำเท่ากับ 0.27–0.76 ค่าอำานาจจำาแนกรายข้อเกี่ยวกับการใช้ทักษะการบริหาร เท่ากับ 0.24–0.73 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการบริหารด้านแบบความเปน็ ผู้นำของผู้บริหารการใช้ทักษะการบริหาารของผู้บริหารและความผูกพันของครูในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยการบริหารด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร การใช้ทักษะการบริหารของผู้บริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกทุกด้าน และมีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.53 ถึง 0.82 อย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัจจัยที่พยากรณ์ความผูกพันของครูในโรงเรียนประถมศึกษา มี 9 ตัวแปร โดยมีค่าอำานาจพยากรณ์ร้อยละ 80.90 (R2 = .809) ดังสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ดังนี้ Y= 0.596 + 0.241X9+ 0.192X2+0.186X6 + 0.216X8+0.141X5+0.142X3+0.451 X4 + 0.114 X1+0.152 X7 สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน Z= 0.280(Z9) + 0.217(Z2) +0.209(Z6) + 0.192(Z8) + 0.149(Z5) + 0.146(Z3) + 0.449(Z4) + 0.116 (Z1) + 0.159(Z7)