Meditation Centers : Developing a Model of Meditation Practice In Four places in the Northeastern Region

Main Article Content

Phramaha Rungrueang Pamakha
Pisit Boonchai
Kosit Pangsoi

Abstract

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประวัติความเปน็ มาการปฏิบัติกรรมฐานสำานักปฏิบัติธรรมภาคอีสาน   2)สภาพปัจจุบันและปัญหาของการปฏิบัติกรรมฐานสำานักปฏิบัติธรรมภาคอีสาน 3) กระบวนการพัฒนารูปแบบการปฏิบัติกรรมฐานสำนักปฏิบัติธรรมภาคอีสาน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยทำาการเก็บรวบรวมข้อมูลในเชิงลึกด้วยการสำารวจ การสงเกตแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม และการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยเลือกพื้นที่ทำาการวิจัยแบบเจาะจง ซึ่งเก็บข้อมูลจากสำนักปฏิบัติธรรมทั้ง 4 สำนัก 1) สำนักปฏิบัติธรรมศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน จังหวัดขอนแก่น 2) สำนักปฏิบัติธรรม วัดเอราวัณ (วัดป่าสุคะโต) จังหวัดชัยภูมิ 3) สำนักปฏิบัติธรรมวัดนาหลวง(วัดอภิญญาเทสิตธรรม) จังหวัอุดรธานี 4) สำนักปฏิบัติธรรมวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ผลการวิจัยพบว่า 1) สำนักปฏิบัติธรรมปฏิบัติกรรมฐานในภาคอีสานสร้างขึ้นตามความประสงค์ของพระสงฆ์สายวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมและเป็นทีฝึกปฏิบัติวิปสัสนากรรมฐานให้เป็นของส่วนรวม 2) สำนักปฏิบัติธรรม มีอาคารสถานที่ บรรยากาศร่มรื่นเงียบสงบ มีพระวิปัสสนาจารย์ที่มีความรู้ และเทคนิคในการสอนปฏิบัติธรรม รูปแบบในการปฏิบัติกรรมฐาน คือ แบบยุบหนอพองหนอ แบบเคลื่อนไหวแบบภาวนา     พุทโธ และแบบอานาปานสติ สภาพโดยทั่วไป ในฤดูร้อนสำานักปฏิบัติธรรมมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง ฤดูหนาว อากาศหนาวเย็น ฤดูฝนมียุง และแมลงชุกชุม พระวิปัสสนาจารย์บางรูปมีประสบการณ์ในเทคนิคการสอนไม่หลากหลาย 3) รูปแบบการพัฒนาการปฏิบัติกรรมฐานของสำานักปฏิบัติธรรมในภาคอีสานควรปรับปรุงอาคารสถานที่ให้อากาศถ่ายเทสะดวก จัดโครงการอบรมแก่พระวิทยากร พระวิปัสสนา ฝึกอบรมการปฏิบัติกรรมฐานเป็นรายบุคคล และควรปรับปรุงระยะเวลาจัดกิจกรรมให้มีความเหมาะ

    

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)