Examining Student ICT Ownership, Use and Preferences towards Electronically Delivered Learning Resources in Nakhon Phanom University and Sakon Nakhon Rajabhat University
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)ความเป็นเจ้าของของนักศึกษากับอุปกรณ์เทคโนโลยีทั้งด้านซอฟแวร์และการใช้งาน 2)อุปกรณ์เทคโนโลยีอะไรบ้างที่ครูผู้สอนใช้ในชั้นเรียน 3)การใช้งานระบบออนไลน์ของนักศึกษาที มหาวิทยาลัย และ 4)ตรวจสอบทักษะการใช้ซอฟแวร์ของนักศึกษา โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม และ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร จำานวน 977 คน ปีการศึกษา 2558 โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ แบบสอบถาม ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อจัดลำดับทัศนคติของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ Likert Scale เป็นการให้สเกลคำตอบการสำารวจโดยการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ได้รับการพัฒนาโดยใช้ซอฟต์แวร์ Qualtrics ซึ่งเป็น เครื่องมือที่มี การสำารวจวิจัยออนไลน์ รวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าอำานาจจำาแนกระหว่าง 0.44.-0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาเป็นเจ้าของ Laptop มากที่สุดร้อยละ 78 รองลงมาคือ Smart Phone ร้อยละ 60 นักศึกษามหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ อะไรบ้าง โดยพิจารณาจากการเป็นเจ้าของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่เกิน 3 ปี ทำให้ทราบว่า นักศึกษาซื้ออุปกรณ์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา และส่วนมากนักศึกษาใช้อุปกรณ์ดังกล่าวในการเรียนมากกว่าร้อยละ 60 2) ครูผู้สอนใช้ Desktop Laptop และ Projector ในห้องเรียนบ่อยที่สุดมากกว่าร้อยละ 75 3)การติดต่อสื่อสารที่ทางมหาวิทยาลัยจัดให้ เช่น ระบบการเรียนการสอน ออนไลน์กลับไม่ได้รับการตอบสนองเท่าที่ควรมีเพียงร้อยละ 20 และ 4) ทักษะในการใช้ Software ที่จำเป็นต่อการเรียนการสอนของนักศึกษามหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งอยู่ในระดับกลาง ในขณะที่ทักษะทาง Social Media นั้นอยู่ในระดับดีมาก ดังนั้นจะเห็นได้ว่านักศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดความรู้พื้นฐานในการใช้ระบบสารสนเทศเบื้องต้นที่สนับสนุนการเรียน มหาวิทยาลัยควรมีการติดตามและวัดผลความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นและปรับปรุงตัวเองให้มีพื้นฐานที่ดีขึ้น และส่งผลต่อการทำางานของนักศึกษาในอนาคต