ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับความพึงพอใจ ในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม

Main Article Content

อัชยา คิสาลัง
ผศ.ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์
ศิริดา บุรชาติ

Abstract

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับความพึงพอใจในกาปฏิบัติงานของครูสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารและความพึง-พอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม 3) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม ที่มีประสบการณ์ต่างกัน     4) เพื่อศึกษาระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม 5) หาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนมทั้ง 6 โรงเรียน ปีการศึกษา 2552 จำนวน 195 คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหาร และครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จำนวน 130 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 36 คน และครู 94 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.32–0.79 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนครูมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ความคิดเห็นระหว่างผู้บริหารกับครูต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโดยรวมแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3) เมื่อพิจารณาตามประสบการณ์การปฏิบัติงานปรากฏว่าภาวะผู้นำโดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการ
ปฏิบัติงานของครูโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5) การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการมุ่งความสัมพันธ์เป็นรายบุคคล ด้านการสร้างและการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ และด้านการคาดหวังต่อผลงานสูง

คำสำคัญ: ความสัมพันธ์ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ความพึงพอใจ การปฏิบัติงานของครู

ABSTRACT

      The purposes of this research were 1) to investigate the administrators’transformational leadership and the teachers’ satisfaction on work performance in schools under Nakhon Phanom Municipality; 2) to compare the administrators’ transformational leadership and the teachers’ satisfaction on work performance in schools under Nakhon Phanom Municipality; 3) to compare the administrators’ transformational leadership and the teachers’satisfaction on work performance in schools under Nakhon Phanom Municipality classified by work experience; 4) to study the relationship between the administrators’ transformational leadership and the teachers’ satisfaction on work performance in schools under Nakhon Phanom Municipality; and 5) to find guidelines to enhance the transformational leadership of the administrators under Nakhon Phanom Municipality. The populations used in this study included 195 school administrators and teachers from 6 schools under Nakhon Phanom University in the academic year 2009. The sample groups employed in this study were 130 school administrators and teachers of schools under Nakhon Phanom Municipality comprising 36 school administrators and 94 teachers selected by multistage random sampling.
The tool used to collect the data was a rating scale questionnaire with the discrimination power between 0.32 and 0.79 and the reliability of 0.97. A computer software package was used for data analysis. The statistics employed to analyze the data were percentage, mean, standard deviation, t-test and Pearson Correlation Coefficient. The results of this research were as follows: 1) The overall and each aspect of the administrators’ transformational leadership were at the high levels, and the overall and each aspect of the teachers’ satisfaction on work performance were at the high levels. 2) The opinions of the school administrators and teachers on the overall administrators’transformational leadership showed no statistically significant difference, and on the overall and each aspect of the
teachers’ satisfaction on work performance showed no statistically significant difference. 3) When the work experiencewas considered, it was found that the overall administrators’ transformational leadership showed no statistically significant difference, and the overall teachers’ satisfaction on work performance showed no statistically significant difference at the .05 level. 4) The administrators’ transformational leadership had a moderately positive relationship with the teachers’ satisfaction on work performance at the .01 statistically significant level. 5) This research suggested some guidelines to enhance the school administrators’ transformational leadership in three aspects: intellectual stimulation, individualized consideration, vision building and dissemination, and high performance expectations.

Keywords: relationship, administrators’ transformational leadership, satisfaction, work performance of teachers

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)