ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับประสิทธิผล ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1

Main Article Content

เรืองศักดิ์ ชุปวา
รศ.อนันต์ ปานศุภวัชร
รศ.ดร.ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร

Abstract

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และประสิทธิผลของ
โรงเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียน และประสิทธิผลของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียน และประสิทธิผลของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนขนาดแตกต่างกัน 4) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับประสิทธิผลของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 5) ศึกษาอำนาจพยากรณ์การบริหารโรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน และ 6) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 600 คน ครูผู้สอน จำนวน 3,338 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2,950 คน รวมทั้งหมด จำนวน 6,888 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 369 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 45 คน ครูผู้สอน จำนวน 189 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 135 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่สร้างขึ้นนำไปทดลองใช้ได้ค่าความเชื่อมั่นด้านการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เท่ากับ 0.92 และค่าความเชื่อมั่นประสิทธิผลของโรงเรียนทั้งฉบับ เท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ เพื่อเปรียบเทียบอธิบายสมมติฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนและประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 อยู่ในระดับมาก 2) ผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียน และประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนมเขต 1 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง 4) การบริหาร
โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้านหลักการบริหารตนเอง ด้านหลักการกระจายอำนาจหลักการ คืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน และด้านหลักการมีส่วนร่วม โดยมีสมการพยากรณ์ ดังนี้ Y’ = 0.313 + .394X4 +.184X1 + .166X3 + .169X2 5) แนวทางหาแนวทางพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักการบริหารตนเอง ด้านหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล ด้านงานบริหารบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป

 

ABSTRACT

      This research aimed to 1) study the state of the school-based management and the effectiveness of the schools; 2) compare the state of the school-based management of the schools and the effectiveness of the schools according to the opinions of the administrators, teachers and basic education school board members; 3) compare the state of the school-based management of the schools and the effectiveness of the schools according to the opinions of the administrators, teachers and basic education school board members in the schools with different sizes; 4) find the relationship between the state of the school-based management and the effectiveness of the schools according to the opinions of the administrators,teachers and basic education school board members; 5) study the prediction power of the school-based management that affected the effectiveness of the schools; and 6) find guidelines for developing the school-based management of the schools under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1. The populations of 6,888 people in the study included 600 school administrators, 3,338 teachers and 2,950 basic education school board members. The sample groups of 369 subjects consisted of 45 school administrators, 189 teachers and basic education school board members gained by using multi-stage random sampling. The constructed tools were tested and gained the reliability of 0.92 for the school-based management and the reliability of 0.92 for the effectiveness of the schools. The data were analyzed using a computer software package to calculate frequencies, percentages, means, standard deviations, t-test, F-test (to compare and explain hypotheses), the correlation coefficients of the simple Pearson and multiple regression analysis at each stage. The results of this research were as follows: 1) The state of the school-based management and the effectiveness of the schools under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1 were at high levels. 2) The opinions of the administrators, teachers and basic education school board members on the state of the school-based management of the schools and the effectiveness of the schools under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1 were significantly different at the .01 level. 3) On the whole, the state of the school-based management had a highly significant positive correlation with the effectiveness of the schools under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1. 4)The school-based management could predict the effectiveness of the schools under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1 at the statistically significant level of .01, namely the school-based management in the following aspects: self-administration, the principles of decentralization, the principles of empowering educational management to people, and the principles of participation. The prediction equations were Y’ = 0.313 + .394X4 + .184X1 + .166X3 + .169X2. 5) The research offered guidelines for developing the school-based management in 4 aspects: the principles of self-administration, the principles of checks and balances, human resources administration and general administration.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)