ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผล ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน และประสิทธิผลของโรงเรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน และ ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน จำแนกตามระดับการจัดการเรียนการสอน 3) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม 4) เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน และประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใน จังหวัดนครพนม ปีการศึกษา 2552 ใน 499 โรงเรียน จำนวน 6,041 คน ซึ่งจำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน 499 คน และครูผู้สอน 5,542 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน113 คน และครูผู้สอน 272 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย ด้านสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และด้านประสิทธิผลของโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน และประสิทธิผลของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) สมรรถนะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้บริหารโรงเรียนเห็นว่าผู้บริหารโรงเรียนมีสมรรถนะการบริหารสูงกว่าครูผู้สอน ประสิทธิผลของโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหาร โรงเรียน และประสิทธิผลของโรงเรียน จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน และจำแนกตามระดับการจัดการเรียนการสอนของ
โรงเรียน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) สมรรถนะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ด้านที่ต้องพัฒนาประกอบด้วย ด้านการปฏิบัติงานขององค์กรโดยเน้นผลถาวรด้านการรายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ ด้านการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านการร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่นอย่างสร้างสรรค์ ด้านการแสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา ด้านการเป็นผู้นำและสร้างผู้นำ และด้านการสร้างโอกาสในการพัฒนาได้ทุกสถานการณ์ ส่วนประสิทธิผลของโรงเรียนด้านที่ต้องยกระดับประกอบด้วย กลุ่มบริหาร งานบุคคล และกลุ่มบริหารงานทั่วไป ซึ่งผู้วิจัยได้เสนอแนะไว้แล้ว
The purposes of this research were 1) to study the administration competencies of the school administrators and the effectiveness of the schools under the Offices of Nakhon Phanom Educational Service Area; 2) to compare the administration competencies of the school administrators and the effectiveness of the schools under the Offices of
Nakhon Phanom Educational Service Area based on the opinions of the school administrators and teachers classified by work experience and class levels; 3) to study the relationship between the administration competencies of the school administrators and the effectiveness of the schools under the Offices of Nakhon Phanom Educational Service; and 4) to suggest guidelines for developing the administration competencies of the school administrators and
the effectiveness of the schools under the Offices of Nakhon Phanom Educational Service Area. The populations used in this study were 6,041 people from 499 schools under the Offices of Nakhon Phanom Educational Service Area in the academic year of 2009 comprising 499 school administrators and 5,542 teachers. The sample group of
385 subjects consisted of 113 school administrators and 272 teachers selected by multi-stage random sampling. The tool used to collect the data was a 5-rating scale questionnaire, constructed by the researcher, comprising 2 parts. first part was about the administration competencies of the school administrators with the reliability coefficient of
0.91. The second part was about the effectiveness of the schools with the reliability coefficient of 0.98. The statistics used to analyze the data were percentages, means, standard deviations, t-test (independent samples), F-test One-way ANOVA), and Pearson Correlation Coefficient. The results of this research were as follows: 1) The overall
and each aspect of the administration competencies of the school administrators and the effectiveness of the schools at high levels. 2) The overall administration competencies of the school administrators according to the opinions of the school administrators and teachers showed a statistically significant difference at the .01 level; the opinions of the school administrators towards the administration competencies of the school administrators were higher than those of the teachers. The overall and each aspect of the effectiveness of the schools according to the opinions of the school administrators and teachers did not show a statistically significant difference. The overall and each aspect of the administration competencies of the school administrators and the effectiveness of the schools according to the opinions of the school administrators and teachers classified by work experience and class levels did not show a statistically significant difference. 3) On the whole, the administration competencies of the school administrators had a statistically significant positive correlation with the effectiveness of the schools at the .01 level. 4) The researcher
suggested the aspects of the administration competencies of the school administrators that needed to be developed including the performance of the organization by focusing on permanent outcomes, the systematic report on the educational quality improvement, the good conduct as a model, the creative collaboration with the community and other agencies, the seeking and using information for development, the leadership and leader building, and the building of opportunities to enable the development under any circumstances. The researcher also suggested the aspects of the effectiveness of the schools that needed to be raised including the personnel administration and general administration.