สภาพและปัญหาของการจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้นเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก ระดับช่วงชั้นที่ 1 - 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1

Main Article Content

ศุภมาศ กุลตังวัฒนา
รศ.อนันต์ ปานศุภวัชร
ผศ.ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์

Abstract

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และเสนอแนวทางพัฒนาสภาพและปัญหาของการจัดการเรียน การสอนแบบคละชั้นเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก ระดับช่วงชั้นที่ 1 - 2 (ป.1-ป.6) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูโรงเรียนขนาดเล็ก ระดับช่วงชั้นที่ 1 - 2 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 741 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูโรงเรียนขนาดเล็ก ระดับช่วงชั้นที่     1 - 2 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 282 คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเคร็จซี่และมอร์แกน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (t - test) ชนิดกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน (Independent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้นเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กระดับช่วงชั้นที่ 1 - 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ปัญหาของการจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้นเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กระดับช่วงชั้นที่ 1 - 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนมเขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 3) การเปรียบเทียบสภาพการจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้นเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก ระดับช่วงชั้นที่ 1 - 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดชั้นเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้บริหารมีความคิดเห็นด้านการจัดชั้นเรียนน้อยกว่าครู 4) การเปรียบเทียบปัญหาการจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้นเรียน ในโรงเรียนขนาดเล็ก ระดับช่วงชั้นที่ 1 - 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกันทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้บริหารมีความคิดเห็นมากกว่าครู 5) แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้นเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก ระดับช่วงชั้นที่ 1 - 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนมเขต 1 ที่ควรนำไปพัฒนา ได้แก่ ด้านการจัดชั้นเรียน ด้านการปรับหลักสูตร ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านบทบาทผู้เรียนด้านบทบาทผู้ปกครอง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนต่อไป

      This research aimed to study, compare and suggest guidelines to improve the state and problems of multi-grade teaching in small size schools at key stages 1 - 2 under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1 based on the opinions of the administrators and teachers in the small size schools at key stages 1 - 2 that offered the multi-grade teaching. The sample groups of 282 people consisted of administrators and teachers in small size schools at key stages 1 - 2 under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1 in the academic year 2009. The sample group size was determined using the table of Krejcie and Morgan and gained by multistage random sampling. The instrument used to collect the data was a five-rating scale questionnaire, constructed by the researcher, which had the reliability of 0.97. The statistics used to analyze the data were percentages, means, standard deviations and t-test (Independent Samples). The results of the study were as follows: 1) The overall and each aspect of the state of the multi-grade teaching in small size schools at key stages 1 - 2 under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1 showed a high level. 2) The overall and each aspect of the problems of the multi-grade teaching in small size schools at key stages 1 - 2 under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1 showed a moderate level. 3) The opinions of the administrators and teachers on the state of the multi-glade teaching in small size schools at key stages 1 - 2 under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1, as a whole, did not show the statistically significant difference. When each aspect was considered, it was found that the opinions of the administrators and the majority of teachers on the aspect of classroom management showed the statistically significant difference at the .05 level. The opinions of the administrators on the classroom management were lower than the teachers. 4) The opinions of the administrators and teachers on the problems of the multi-glade teaching in small size schools at key stages 1 - 2 under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1, as a whole, showed the statistically significant difference at the .01 level. When each aspect was considered, it was found that the opinions of the administrators and teachers on every aspect showed the statistically significant difference at the .01 level. The opinions of the administrators on every aspect were higher than the teachers. 5) The guidelines for improving the multi-grade teaching in small size schools at key stages 1 - 2 under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1 that were suggested in the study included: classroom management, curriculum improvement, learning activities management, students’ roles and guardians’ roles.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)