สภาพ ปัญหา และความต้องการการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2

Main Article Content

อภิวัฒน์ บุญนิธิภัทร
รศ.ดร.จำนง วงษ์ชาชม
ดร.วนิดา หงษ์มณีรัตน์

Abstract

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพ ปัญหา และความต้องการการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ผู้รับผิดชอบระบบสารสนเทศ และผู้ใช้งานระบบสารสนเทศ จำแนกตามสถานภาพ และขนาดของโรงเรียน เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 208 คนผู้รับผิดชอบระบบสารสนเทศ จำนวน 208 คน และผู้ใช้งานระบบสารสนเทศ จำนวน 1,915 คน กลุ่มตัวอย่างที่วิจัยประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 100 คน ผู้รับผิดชอบระบบสารสนเทศ จำนวน 100 คน และผู้ใช้งานระบบสารสนเทศ จำนวน 130 คนซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test)ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพ ปัญหา และความต้องการการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก อยู่ในระดับน้อย และอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2) สภาพ ปัญหา และความต้องการการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความคิดเห็นด้านการบริหารงานบุคคลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ใช้งานระบบสารสนเทศมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าผู้บริหารโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) สภาพ ปัญหา และความต้องการการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียน จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็น ด้านการบริหารวิชาการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยโรงเรียนขนาดใหญ่ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าโรงเรียนขนาดกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความคิดเห็นด้านการบริหารงานบุคคลแตกต่างกัน โดยโรงเรียนขนาดใหญ่ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าโรงเรียนขนาดเล็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) แนวทางพัฒนาการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียน จากผลการวิจัย ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเป็นร้อยละ 100ควรพัฒนาทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป

    The purposes of this study were to investigate and compare the states, problems and needs for the information system management for the administration of schools under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 2 based on the opinions of the school administrators, persons in charge of the information system and information system users, classified by their statuses and school sizes, and to find ways to develop the informationทsystem management of the schools. The populations of this research were 208 school administrators, 208 persons who were in charge of the information system and 1,915 information system users. The sample of 330 people consisted of 100 school administrators, 100 persons who were in charge of the information system and 130 information system users, selected by multi-stage random sampling. The tool used to collect data was a 5-rating scale questionnaire, constructed by the researcher, with the reliability coefficient of 0.97. Statistics used to analyze the data were percentages, means, standard deviations and F-test (One-way ANOVA). The results of this research were as follows: 1) The overall and each aspect of the states, problems and needs for the information system management for the school administration were at the high, low and high levels respectively. 2) The overall states, problems and needs for the information system management for the school administration did not make a statistically significant difference. When each aspect was considered, it was found that the opinions of the school administrators, persons in charge of the information system and information system users on the personnel administration showedthe statistically significant difference at the .05 level. The opinions of the information system users showed the higher level than the school administrators at the statistically significant level of .05. 3) The overall states, problems and needs for the information system management for the administration of the schools, classified by school sizes, did not show a statistically significant difference. When each aspect was considered, it was found that the opinions of the school administrators, persons in charge of the information system and information system users on the aspect of academic administration showed the statistically significant difference at the .01 level, and the large-sized schools showed a higher level than the medium- sized schools at the .05 level. The opinions on the aspect of personnel administration showed a difference, and the large-sized schools showed a higher level than the small-sized schools at the statistically significant level of .05. 4) This study also suggested guidelines to develop the information system management for the administration of the schools. The guidelines suggested by 100 percent of the experts from this study included 4 aspects: the academic administration, budget administration, personnel administration and general administration.

 

 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)