การเปรียบเทียบความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของเดอโบโน กับแบบปกติ

Main Article Content

สายสุดา สุขวิพัฒน์
รศ.ศิริศักดิ์ จันฤาไชย
ดร.สุมาลี ชูกำแพง

Abstract

   การพัฒนาความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของเดอโบโน การวิจัยในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของเดอโบโน 2) ศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของเดอโบโน 3) เปรียบเทียบความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์ของปฐมวัยก่อนและหลังการได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของเดอโบโน 4) เปรียบเทียบความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ระหว่างการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของเดอโบโน กับการจัดประสบการณ์แบบปกติ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มเครือข่ายนาขมิ้น โพนบก นาใน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เด็กปฐมวัยชาย – หญิง ที่กำลังศึกษา อยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนบ้านนาขมิ้น อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม จำนวน 30 คน เป็น กลุ่มทดลอง ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของเดอโบโน และนักเรียนโรงเรียนบ้านโพนบก อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม จำนวน 30 คนเป็นกลุ่มควบคุม ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติ ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของเดอโบโน จำนวน 20 แผน และ แผนการจัดประสบการณ์แบบปกติจำนวน 20 แผน แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ รูปแบบ ก. ของทอแรนซ์ ซึ่งมี ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 และแบบประเมินความฉลาดทาง อารมณ์ของเด็ก 3 – 5 ปี มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t –test (Independent Samples) ซึ่งใช้ในการทดสอบการเปรียบเทียบความสามารถด้านความ คิดสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์ของปฐมวัยก่อนและหลังการได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของเดอโบโน และ Hotelling’s T2 ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของเดอโบโน มีความสามารถด้านความ คิดสร้างสรรค์ อยู่ในระดับดี 2) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของเดอโบโน มีความฉลาดทางอารมณ์ อยู่ในระดับดี 3) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของเดอโบโน มีความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของเดอโบโน มีความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์ หลังเรียนสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแบบ ปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยก่อนทำการทดลอง ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบก่อนเรียนแล้ว ผลปรากฏว่า ทั้ง 2 โรงเรียน มีความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์ไม่แตกต่างกัน โดยเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนว คิดของเดอโบโน มีความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าเด็กที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติ ดังนั้นจึงสมควรสนับสนุนให้ครูปฐมวัย นำการจัดประสบการณ์ ตามแนวคิดของเดอโบโน ไปใช้ในการจัดประสบการณ์ เพื่อพัฒนาความ คิดสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย

     The purposes of this study were to 1) Study the creative thinking ability of pre-school children who gained experience due to De Bono’s approach, 2) Survey the emotional quotient of pre-school children who gained experience due to De Bono’s approach, 3) Compare the pre-school children’s creativity and emotional quotient before and after they gained experience due to De Bono’s approach, and 4) Compare the pre-school children’s creativity and emotional quotient while gaining De Bono’s approach and conventional experiences. The samples in this research were 60 second kindergarten level students in the second semester of academic year of 2010 studying in Nakhon Phanom province. All students were in Nakhamin, Phon Bok, NaNai network group, Phon Sawan district. They were classified into two groups: an experimental and a control groups. There were 30 students at Ban Nakhamin School considered as an experimental group who gained experience due to De Bono’s approach, and other 30 students at Ban Phonbok School considered as a control group who gained experience due to the conventional teaching approach. The students were collected by Cluster Random Sampling technique. Three types of research tools used in the study: 1) 20 lesson plans regarding De Bono’s approach and 20 lesson plans according to the conventional approach, 2) Torrance’s creative thinking test with the reliability of 0.94, and 3) Emotional quotient test for 3-5 year-old children with the reliability of 0.90. The statistics used for analyzing the collected data were percentage, mean, standard deviation and t-test (Independent Samples). Experience due to De Bono’s approach and Hotelling’s T 2  were employed for hypotheses testing. The results of the study were as follows: 1) The pre-school children instructed by De Bono’s approach obtained creative thinking ability at a good level, 2) The pre-school children instructed by De Bono’s approach obtained emotional quotient at a good level, 3) The pre-school children instructed by De Bono’s approach obtained creative thinking and emotional quotient before they studied at a higher level at a significance level of .05 than after they studied, 4) The pre-school children instructed by De Bono’s approach and conventional approach obtained higher creativity thinking and emotional quotient ability after they studied at a significance level of .05. In the pilot study, it was found that the students from both schools insignificantly showed the creative thinking and emotional quotient at a significance level of .05. In conclusion, the pre-school children instructed by De Bono’s approach obtained higher creative thinking and emotional quotient ability than the children who were instructed by the conventional approach. Therefore, the pre-school teachers should encourage the De Bono’s approach to develop the pre-school children’s thinking abilities.

 

 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)