ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้้บริหารโรงเรียนกับความผูกพันต่อองค์์การของข้าราชการครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม

Main Article Content

ถิระนันต์ ฤทธิทิศ
ผศ.ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์
ผศ.ดร.วัลนิกา ฉลากบาง

Abstract

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค ์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนและความผูกพันต่อองค์การของ ข้าราชการครู 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนและความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูจำแนกตามขนาดโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครู 4) เพื่อหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม ประชากรในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารจำนวน 499 คน ครูผู้สอนจำนวน 5,542 คน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 499 คน รวม 6,540 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 383 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 92 คน ครูผู้สอน 199 คน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 92 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยด้านภาวะผู้้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.69 – 0.88 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 ส่วนด้านความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครู มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.54 – 0.77 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารโรงเรียนมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับมาก 2) ข้าราชการครูมีความผูกพันต่อองค์การ อยู่ในระดับมาก 3) เมื่อเปรียบเทียบการรับรู้ของกลุ่ม ตัวอย่าง จำแนกตามตำแหน่งและขนาดของโรงเรียนที่สังกัดต่อทั้งภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและความผูกพันต่อองค์การ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4) ภาวะผู้้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับความผูกพันต่่อองค์์การของข้าราชการครูมีความ สัมพันธ์กันทางบวก 5) ผู้บริหารควรส่งเสริมครู โดยให้การกระตุ้นทางปัญญา เป็นแบบอย่างที่เหมาะสม และคาดหวังผลการปฏิบัติงานของครูในระดับสูงในการสร้างความผูกพันต่อโรงเรียน

      The purposes of this study were 1) to examine the transformational leadership of school administrators and the organization commitment of teachers, 2) to compare the transformational leadership of schooladministrators and the organization commitment of teachers classified by the sizes of schools, 3) to investigate the relationship between the transformational leadership of school administrators and the organization commitment of teachers, and 4) to seek guidelines for developing the transformational leadership of school administrators in schools under the Offices of Nakhon Phanom Educational Service Area. The total population of 6,540 consisted of 499 school administrators, 5,542 teachers, and 499 presidents of Basic Education School Boards. The sample groups of 383 subjects consisted of 92 school administrators, 199 teachers, and 92 presidents of Basic Education School Boards and were selected by multi-stage random sampling. The instrument used to collect data was a researcher-made questionnaire comprising 2 parts. The first part was about the transformational leadership of school administrators which had the discrimination power between 0.69 and 0.88m and the reliability of 0.98. The second part was about the organization commitment of teachers which had the discrimination power between 0.54 and 0.77 and the reliability of 0.93. Statistics used for data analysis included percentage, mean, standard deviation, One-way ANOVA, and Pearson’s Correlation Coefficient. The results of theresearch revealed that: 1) The transformational leadership of school administrators, as a whole, was at a high level, 2) The organization commitment of teachers, as a whole, was at a high level, 3) When comparing theperception of the sample groups, classified by their positions and sizes of schools, towards the transformational leadership of school administrators and the organization commitment of teachers, no statistically significant difference was found. 4) The transformational leadership of school administrators had a positive relationship with the organization commitment of teachers, and 5) To build up the organization commitment of teachers, the administrators should promote teachers in the following aspects: intellectual stimulation, appropriate role modeling, and setting high teacher performance expectations.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)