แนวทางการไกล่เกลี่ยของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอโนนสัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภูเขต 1
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมการไกล่เกลี่ยของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาแนวทางการไกล่เกลี่ยของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการไกล่เกลี่ยกับแนวทางการไกล่เกลี่ยของผู้บริหารสถานศึกษา การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงผสม กำหนดกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม และการจัดสนทนากลุ่มแบบเจาะจง 3 กลุ่ม คือกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มครู และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตรวจสอบแบบสามเส้า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับพฤติกรรมการไกล่เกลี่ยผู้บริหารสถานศึกษา มี 4 ตัวแปร คือ 1.1) พฤติกรรมการไกล่เกลี่ย 1.2) ทักษะการไกล่เกลี่ย 1.3) การจัดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และ 1.4) การคิดแก้ไขปัญหาโดยภาพรวมมีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการไกล่เกลี่ยของผู้บริหารสถานศึกษามี 4 ตัวแปร คือ 2.1) การบรรลุเป้าหมายทางสังคม 2.2) การก่อให้เกิดความชอบธรรม 2.3) การเยียวยารักษาโดยมิติของการไกล่เกลี่ยและ 2.4) การลดความเป็นปรปักษ์ระหว่างคู่ขัดแย้ง โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 3) พฤติกรรมการไกล่เกลี่ยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับแนวทางการไกล่เกลี่ยของผู้บริหารสถานศึกษา (r = 0.98)
The purposes of this mixed method research were to determine 1) Levels of mediation performance of school administrators in Nonsong District Under the Office of Nongbualamphu Primary Educational Service Area 1, 2) Mediation approaches of the school administrators in Nonsong District Under the Office of Nongbualamphu Primary Educational Service Area 1, and 3)Relationship between the school administrators’ mediationperformance and mediation approaches. The target group of this research was 62 school administrators: directorsand deputy directors. The questionnaire and the purposiveocus group discussion divided into 3 groups: administrators, teachers and school boards, analyzed by thetriangulation technique were used as the research instruments. Statistics used in the study were frequency, percentage, mean, standard deviation and correlation coefficiency The research findings were as follows: 1) The overall levels of mediation performance of school administrators included 4 variables: 1.1) Mediation performance, 1.2) Mediation skills, 1.3) Personal interaction management, and 1.4) Problem solving, were at a high level, 2 ) The overall mediation approaches of school administrators included 4 variables: 2.1) Social goals achievement, 2.2) Moral engenderment, 2.3) Healing by mediation, and 2.4) Reduction of conflict amongst opponents, were at a high level, 3) The mediate performance positively correlated with th school administrators’ mediation approaches (r = 0.98).