กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

Main Article Content

สำราญ วิเศษ

Abstract

   การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและศึกษาข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองจำแนกตามเพศ ชั้นปีที่กำลังศึกษา และระบบการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาภาคปกติและภาคพิเศษ ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 165 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t - test และ F – test (One-Way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการแสดงความคิดเห็น รองลงมา ได้แก่ ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านการประเมินผล และ ด้านการตัดสินใจตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา พบว่า นักศึกษา ที่มีเพศ ชั้นปีที่กำลังศึกษา และระบบการเรียนแตกต่างกัน พบว่า นักศึกษา ที่มีเพศ ชั้นปีที่กำลังศึกษาและระบบการเรียนต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ควรมีสื่อที่ทันสมัยในการให้ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง ควรนำเสนอข้อมูลทางวิทยุ โทรทัศน์ และโปสเตอร์ เสนอข่าวสารให้มีความหลากหลาย ควรมีการประเมินผลทางการเมืองตามสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละเขตการเลือกตั้ง และควรมีการเผยแพร่ข้อมูลด้านการเมืองมากกว่านี้

    The purposes of the research were to study the political participation of undergraduate students in the Public Administration Program of the Faculty of Liberal Arts and Science, to compare their political participation classified by their sex, years of study and learning systems, and to study the suggestions for their political participation. The samples used in this study were 165 students in the regular and special programs gained by using simple random sampling. The instrument employed in this research was a 5-point rating scale questionnaire with the reliability value of 0.97, The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and F-test (One-Way ANOVA). The results of the research were as follows: 1) The overall political participation of the students was at a moderate level. When each aspect was considered, it was found that their political participation showed moderate levels in all aspects arranged in order from the highest to the lowest means as follows: expressing opinion, information, evaluation and decision making, 2) The comparison of the political participation of the students classified by their sex, years of study and learning systems showed no statistically significant difference at the .05 level, and 3) Suggestions included providing modern media for political information and news, providing information via the radio, television and poster, providing the diversity of news, assessing the political results according to what actually occurs in each election area, and disseminating more political information.

 

 

 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)