ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับประสิทธิผลการบริหาร งานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม

Main Article Content

วิไลลักษณ์ แก้วอุ่นเรือน
รศ.อนันต์ ปานศุภวัชร
ผศ.ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานและประสิทธิผลการบริหาร งานวิชาการของโรงเรียน 2) เปรียบเทียบสภาพการบริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ 4) หาแนวทางการพัฒนาการบริหาร และยกระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอนและประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม ปีการศึกษา 2552 จำนวน 6,560 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 390 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 78 คน ครูผู้สอน จำนวน 234 คน และประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 78 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าเอฟ (F – test) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน อยู่ในระดับมาก 2) ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานและ ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ 3) โรงเรียนที่มีการจัดการศึกษาต่างระดับกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5) สภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ควรพัฒนาด้านหลักการมีส่วนร่วม ส่วนประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ควรพัฒนา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนา คุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษา และองค์กรอื่น และด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัวองค์กรหน่วยงานสถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา

   This study aimed 1) to investigate the state of school-based management and effectiveness of academic administration in schools under the Offices of Nakhon Phanom Educational Service Area, 2) to compare the state of school-based management bases on administrators, teachers and members of basic education’s views, 3) to investigate the state management relationship between the administration and effectiveness of academic administration and 4)to investigate the management development approaches and enhance effectiveness of academic administration. There were 390 samples of the study, selected by multi-stage sampling, consisting of 78 school administrators, 234 teachers, and 78 chairpersons of school advisory committee. Instrument used to collect data was a 2-part set of researcher-constructed questionnaires. The first part had questions about the state of school-based management in schools, the reliability was 0.97; whereas the questions of the second part, the reliability of 0.98, were about the effectiveness of academic administration. Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and F-test. Results of the study were as follows:1) State of school based management and effectiveness of academic administration in schools under the Offices of Nakhon Phanom Educational Service Area, as a whole was at the high level, 2) Views of school administrators, teachers, and chairpersons of school advisory committee on state of school-based management in schools under the Offices of Nakhon Phanom Educational Service Area were statistically different at the significance level of .01 and .05, 3) State of school-based management among schools under the Offices of Nakhon Phanom Educational Service Area which provided in different levels were statistically different at the significance level of .01, 4) Statistically, positive relationship between state of school-based management and effectiveness of academic administration was found at the significance level of .01 and 5) There was improved for the school-based management in schools under the Offices of Nakhon Phanom Educational Service Area in the area of principle of participation; whereas those for the effectiveness of academic administration were in the areas of research and development in  schools, educational supervision, cooperation with other schools and agencies on academic affairs development, and the promotion and support of academic services for individuals, families, agencies, enterprises, and other educational institutions.

 

 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)