การศึกษาระดับการรับรู้ของพนักงานต่อกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ การซ่อมบำรุงอากาศยานฝ่ายช่าง อู่ตะเภา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

Main Article Content

ณัฐกานต์ ตั้งวนาไพร
ดร.พินันทา โรจน์รัตน์ศิริกุล
รศ.ปภัสสร ผลเพิ่ม

Abstract

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ของพนักงานฝ่ายช่างอู่ตะเภาที่มีต่อกระบวนการตรวจสอบคุณภาพภายในตามมาตรฐาน ISO 9001 และข้อกำหนดด้านคุณภาพเรื่องการรับรองหน่วยซ่อมบำรุงอากาศยาน และเปรียบเทียบระดับการรับรู้ของพนักงานกับปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือพนักงาน ฝ่ายช่าง อู่ตะเภา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน220 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรคำนวณของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า ระดับการรับรู้ของพนักงานฝ่ายช่างต่อข้อกำหนดการตรวจสอบคุณภาพภายในอยู่ในระดับมาก ระดับการรับรู้เกี่ยวกับ องค์ประกอบพื้นฐานของระบบคุณภาพของฝ่ายช่าง อยู่ในระดับมากและปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้กระบวนการตรวจสอบคุณภาพของ พนักงานฝ่ายช่างคือ อายุของพนักงาน แต่วุฒิการศึกษา ตำแหน่งงาน และประสบการณ์ทำงานทำให้ระดับการรับรู้แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

    The purposes of this research were to study the perception level of the employees of the Technical Department (U-Tapao) towards the process of the internal quality audit according to the ISO 9001 standards and the authority requirements in the quality system by the certified repair station and to compare the level of the staff’s perception and personal factors. The samples used in the study were 220 staffs of the Technical Department (U-TAPAO), Thai Airways International Public Co., Ltd. gained by using purposive sampling. The size of the samples was determined by using the calculation formula of Taro Yamane at the 95% confidence leveland the error of 5%. The instrument used to collect the data was a set of five-point rating scale questionnaires. Statistics used for data analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation, and One-way ANOVA. The results of this research were as follows: The staff’s perception of the internal quality audit requirements of the ISO 9001 standards was at a high level. The staff’s perception of the basic components of the quality system of the Technical Department was at a high level. The factor that had an effect on the staff’s perception of the quality audit procedures was the age of the staff. However, education, job position, and work experience did not make the level of the perception different.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)