ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมกับคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม

Main Article Content

ธวัช ศรีรักษา
ผศ.ดร.วัลนิกา ฉลางบาง
ผศ.ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์

Abstract

     การรวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและระดับคุณธรรมพื้นฐานนักเรียน 2) เปรียบเทียบการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและระดับคุณธรรมพื้นฐานนักเรียน 3) เปรียบเทียบการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและระดับคุณธรรมพื้นฐานนักเรียนในโรงเรียน ที่สอนในช่วงชั้นที่ต่างกัน 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียน 5) หาแนวทางพัฒนาการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามการรับรู้ของผู้บริหาร และครูประจำชั้น จำแนกตามสถานภาพและช่วงชั้นที่เปิดสอนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย โดยใช้ตาราง Krejcie and Morgan ได้จำนวน 362 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 107 คน และครูที่ปรึกษา 255 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.41 – 0.87 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.98และด้านคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียน มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.24 – 0.87 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีและ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและระดับคุณธรรมพื้นฐานนักเรียน อยู่ในระดับมาก 2) การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและระดับคุณธรรมพื้นฐานนักเรียน ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ 3) การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและระดับคุณธรรมพื้นฐานนักเรียนในโรงเรียน ที่สอนในช่วงชั้นที่ต่างกัน ไม่แตกต่างกัน 4) การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนมีความสัมพันธ์กันในทางบวก 5) ควรส่งเสริม ด้านการจัดสภาพแวดล้อม ด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และด้านการประเมินผล ส่วนคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนในโรงเรียน ควรเน้น มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี และมีน้ำใจ

       The purposes of this study were 1) to examine the level of the promotion of morals for students and thebasic virtues level of students, 2) to compare the promotion of morals for students and the basic virtues level ofstudents, 3) to compare the promotion of morals for students and the basic virtues level of students in schoolson the different stages, 4) to investigate the relationship between the promotion of morals for students and the basic virtues of students, 5) to seek guidelines for developing the promotion of morals for students and basic virtues of students in school under the Offices of Nakhon Phanom Educational Service Area in the views of school administrators and advisor teachers categorized by status and levels of educational in the schools provided. Krejcie and Morgan’s table and derived from Multi-Stage Random Sampling. The samples consisted of 362; 107school administrators and 255 advisory teachers. The research instrument used for collecting data was a questionnaire, which were two parts; the promotion of morals for students, with the discrimination between 0.41- 0.87 and the reliability of 0.98 and the basic of virtues students, with the discrimination between 0.24 - 0.87 and the reliability of 0.98. The statistics employed in data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test and One-way ANOVA. The results were as follows : 1) The level of the promotion of morals for students and the basic virtues level of students in schools were at high level, 2) The promotion of morals for students and the basic virtues level of students were not different, 3) The promotion of morals for students and the basic virtues level of students in schools of different stages were not different, 4) The promotion of morals for students and the basic virtues of students employed in a positive relationship, and 5) Guidelines suggested to developing the promotion of morals for students were the management of school environment, the management of activities promoting morals for students, and the evaluation; whereas the guidelines for developing basic virtues students should be included the discipline, politeness, cleanliness, harmoniousness, and helpfulness.

 

 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)