ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน ที่สัมพันธ์กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชนสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม

Main Article Content

สมภพ แสงจันทร์
รศ.ดร.ประสาท อิศรปรีดา
ดร.สุเทพ ทองประดิษฐ์

Abstract

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม และเพื่อพยากรณ์ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยใช้ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน เป็นตัวพยากรณ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่บุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม จำนวน 1,460 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม จำนวน 472 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างมีระบบ (Systematic Random Sampling) ซึ่งมวลประชากร ได้จัดเรียงไว้เป็นระบบแล้ว โดยรายชื่อคนเรียงตามตัวอักษร ซึ่งเริ่มต้นโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้วิธีเปิดตารางเลขสุ่มเครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า เกี่ยวกับแบบวัดปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Product-moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบลำดับขั้นตอนเชิงเส้นตรง (Step-wise Multiple Linear Regression Analysis)ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนมมีปัจจัยจูงใจ อยู่ในระดับมากมีปัจจัยค้ำจุนและขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับขวัญกำลัง ในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนที่สามารถพยากรณ์ขวัญกำลังใจได้ประมาณร้อยละ 39 และสามารถพยากรณ์ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มี 5 ด้านได้แก่ ด้านนโยบายและการบริหารงานขององค์การ (x10) ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ (x3) ด้านความสำเร็จในการทำงาน (x5)ด้านความรับผิดชอบต่องาน (x2) และด้านสภาพการทำงานและเงื่อนไขการทำงาน (x7) ผลการวิจัยสามารถเขียนเป็นสมการได้ ดังนี้

สมการในรูปคะแนนดิบY=1.960+.111x10+.081x3+.079x5+.069x2+.036 x

7สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน Zʹ = .288z10+.153z3 +.143z5+.127z2+.095z

    The purposes of this study were to explore relationship among motivating factors, hygiene factors andmorale of the community hospital personnel under the Office of Public Health, Nakhon Phanom province, and to investigate whether motivating factors and hygiene factors could predict morale of hospital personnel. The samples of this study were 472 personnel selected from the community hospitals under the Public Health Office,Nakhon Phanom province. The systematic random sampling was applied to select the sample. The research tool was a rating scale questionnaire about motivating factors, hygiene factors and morale. The Statistics used in this study were percentage, mean, standard deviation, Pearson Product-Moment correlation coefficient, and Step-Wise Multiple Regression Analysis. Findings revealed that the personnel in the community hospital under the Public Health Office, Nakhon Phanom Province showed a high level of motivating factors and a medium level of hygiene factors and morale. The motivating and hygiene factors had a positive relationship with the morale at .01 level of significance. It was found that five aspects of motivating and hygiene factors could predict personnel’s morale approximately 39%, namely : organization administration and policy (x10), respect and recognition (x3), work achievement (x5accountability (x2), and working status and condition (x7). The regression equations could be written as follows:

The predictive equation in a raw-score form:

Ŷ = 1.960+.111x10+.081x3+.079x5+.069x2+.036 x

 Thepredictive equation in a standard form: Zʹ = .288z10+.153z3 +.143z5+.127z2+.095z

 

 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)