การเปรียบเทียบความรู้และทักษะการปฏิบัติ เรื่อง การเย็บของใช้ด้วยมือระหว่างการเรียนรู้แบบโครงงานกับการเรียนรู้แบบทักษะกระบวนการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ดิราณี สุพันธมาตย์
ผศ.ดร.ทัศนา ประสานตรี
ดร.มนตรี อนันตรักษ์

Abstract

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานและแบบทักษะกระบวนการ เรื่อง การ เย็บของใช้ด้วยมือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนแบบโครงงานและแบบทักษะกระบวนการ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่างการเรียนรู้แบบโครงงานและแบบทักษะกระบวนการ 4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการปฏิบัติระหว่างการเรียนรู้แบบโครงงานและแบบทักษะกระบวนการ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจระหว่างการเรียนรู้แบบโครงงานและแบบทักษะกระบวนการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 ห้อง ห้องที่ 1 จำนวน 40 คน ได้รับการเรียนรู้แบบโครงงาน ห้องที่ 2 จำนวน 40 คน เรียนรู้แบบทักษะกระบวนการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 4 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง การเย็บของใช้ด้วยมือ จำนวน 5 แผน ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ได้ ค่า IOC ของแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าตั้งแต่ 4.69 – 4.93 แสดงว่าแผนการจัดการเรียนรู้มีคุณภาพและความเหมาะสม อยู่ในระดับดีมาก และแบบทักษะกระบวนการ อย่างละ 5 แผน ค่า IOC ของแผนการจัดการเรียนรู้ทุกแผน มีค่าตั้งแต่ 4.63 – 4.72 แสดงว่าแผนการจัดการเรียนรู้มีคุณภาพและความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.26 ถึง 0.86 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 แบบวัดทักษะการปฏิบัติ ตั้งแต่ 0.42 ถึง 0.76 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.87 แบบวัดความพึงพอใจ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t–test (Independent Samples) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) แผนการเรียนรู้แบบโครงงานมีประสิทธิภาพเท่ากับ 90.92/89.00 ส่วนแผนการจัดการเรียนรู้แบบทักษะกระบวนการมีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.82/84.42 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) ดัชนีประสิทธิผลของแผนการเรียนรู้แบบโครงงานมีค่าเท่ากับ 0.8275 คิดเป็นร้อยละ 82.75 ส่วนดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้แบบทักษะกระบวนการมีค่าเท่ากับ 0.7565 คิดเป็นร้อยละ 75.65 3) นักเรียนที่เรียนรู้แบบโครงงานมีคะแนนสูงกว่าแบบทักษะกระบวนการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) นักเรียนที่เรียนโดยการเรียนรู้แบบโครงงานมีคะแนนทักษะการปฏิบัติสูงกว่าที่เรียนแบบทักษะกระบวนการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 5) นักเรียนที่เรียนรู้แบบโครงงานมีระดับความพึงพอใจมากที่สุดและการเรียนรู้แบบทักษะกระบวนการมีความพึงพอใจในระดับมาก

    This research aims 1) to develop the project learning management plans and process skills on stitching wares by hands of Matthayomsuksa 3 students as the 80/80 criterion required; 2) to study the effectivenessindices of learning by the project plans and process skills; 3) to compare the effectiveness between the project learning and process skills; 4) to compare the practicing skills of between the project learning and process skills; 5) to study satisfaction between the project learning and process skills. The sample populations are the Mattayom Suksa 3 students studying in the two classrooms by the group random method. The first group is the 40 students learning through the project plans and the second one is the 40 students learning through process skills. There are 4 types of instruments used in the conduct of the research at below: 1) The 5 plans of project learning management on stitching wares by hands evaluated by the five specialists. The values of IOC on each learning management are 4.69-4.93 signifying that the quality of learning management for students and the appropriateness are at the high level. And the 5 plans of students learning through process skills. The values of IOC on every learning plan are 4.63-4.72 representing that the learning management plans and the appropriateness are at the high level. 2) The 30 items of the effectiveness tests which the discrimination values of theirs are 0.26-0.86.The reliability is 0.94. 3) The tests of the operating skills which the values of theirs are 0.42-0.76.The reliability is 0.87 4) The satisfaction tests which the reliability of theirs is 0.89. Statistics used in data analysis are percentage, mean, standard deviation, and independent samples (t-test). The findings reveal as follows 1) the project learning plans is effectively at 90.92/89.00. For the learning management plans in form of process skills is effectively at 87.82/84.42 which is higher than the 80/80 of standard requirement; 2) the effective indices of the project learning plans are 0.8275 which equal to 82.75%. The effectiveness indices of learning management plans in term of process skills are 0.7565 which equal to 75.65; 3) the scores of the students learning the project plans are significantly higher than the ones learning by process skills at 0.01; 4) the practical scores of students learning through project plans are significantly higher than the ones learning through process skills at 0.01; 5) the satisfaction level towards students learning through the project plans is at the highest level and processing skills learning is at the high level.

 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)