การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการโรงเรียนบ้านดงบาก อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

วิจิตรา บัณฑิต
รศ.ดร.ฉลองรัฐ อินทรีย์

Abstract

   การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โรงเรียนบ้านดงบาก อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนครการวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจ มีความสามารถในการเขียนหน่วยการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ตลอดจนนำแผนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการเรียนการสอนแบบบูรณาการได้ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรในการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนแบบบูรณาการ โดยใช้หลักการวิจัยปฏิบัติการ ซึ่งดำเนินการเป็น 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือการวางแผน การปฏิบัติตามแผน การสังเกตและการสะท้อนผล กลุ่มผู้ร่วมวิจัย มีจำนวน 5 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลมี จำนวน 67 คน ประกอบด้วย วิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แบบบูรณาการ เป็นศึกษานิเทศก์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 2 คน และกลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–3 ทุกคน จำนวน 65 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินแผนการเรียนรู้ แบบประเมินความพึงพอใจ โดยใช้เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสามเส้า การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพคือข้อมูลที่ ได้จากการวิเคราะห์เนื้อหา ตามเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าโดยวิธี บรรยายข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ในวงรอบที่ 1 โดยใช้กลยุทธ์การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ช่วยทำให้กลุ่มผู้ร่วมวิจัย มีความรู้ความเข้าใจการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการได้ในระดับดีมาก และระดับดี คิดเป็นร้อยละ 60 ผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย พร้อมทั้งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดงบาก ร่วมกันสะท้อนผลในวงรอบที่ 1 จึงได้ประชุมวางแผน เพื่อหาแนวทางดำเนินการแก้ไขพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ในวงรอบที่ 2 โดยใช้กลยุทธการนิเทศการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นกำหนดเรื่องที่จะสอน ขั้นกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ ขั้นกำหนดเนื้อหาย่อย ขั้นวางแผนการสอน ขั้นปฏิบัติการสอน ขั้นการประเมินปรับปรุงและพัฒนา และด้านความรู้ความเข้าใจส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่ครูจัดกิจกรรมให้ในด้านการเขียนหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ กลุ่มผู้ร่วมวิจัยสามารถเขียนและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการได้ทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน ลงมือปฏิบัติการสอนแบบบูรณาการ เหมาะสมและบรรลุตามแผนการสอนที่กำหนดไว้ได้ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 100 และด้านความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด

     The research of Human Resources Development on Doing the Activities of the Integrated Teaching and Learning at Baan Dong Bak School, Charoensin District, Sakon Nakhon Province was to develop human resources to gain knowledge and understanding and to be able to write the units of learning and the plans of the integrated teaching and learning management throughout applying integrated learning plans with integrated teaching. This research was conducted into two cycles based on the action research principle. Each cycle consisted of four steps: planning, following the action plans, observation and reflection. The samples comprised of 5 co-researchers and 67 respondents. Of those were 1) instructors who handled the action research training and specialized in the integrated teaching and learning management; 2) two educational supervisors affiliated with Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2. The target group was the total 65 students of Mattayomsuksa 1-3. The instruments used in the conduct of the research were testing forms, observation forms, interviewing forms, assessment forms of learning plans, and satisfaction assessment forms. Data were collected by using triangulation. Quantitative analysis was analyzed by statistics, mean, percentage while qualitative analysis was done by the content analysis as the research instruments designed. The results of the study were presented through information lectures. The research results were as follows: In the first cycle, the strategies used in research conducting were the action training and the instructional supervision in term of peer tutoring. These methods reinforced the co-researchers gained knowledge, understood and managed the activities of the integrated learning at the highest level and the high level that accounted for 60% of the amount of the researchers. In addition, the co-researchers and the director of Baan Dong Bak School jointly reflected the research results of the first cycle then held the meeting in order to find out the implementing procedures towards countermeasures and development of integrated teaching and learning activities. In the second cycle, there were six steps of the instructional supervision strategy in term of peer tutoring: 1) setting the teaching topics; 2) setting the objectives of learning, 3) setting the sub-contents of teaching; 4) setting the procedures of doing lesson plans, 5) teaching; 6) assessment and development. For knowledge and understanding, these influenced the learners understood the contents of which the teachers provided. For writing, the units of learning and the integrated teaching and learning management plans, all co-researchers could write and manage the integrated learning management plans that equaled 100%. For the implementation of the teaching and learning activities, the integrated teaching was proper and accomplished the lesson plans indicated at the highest level that accounted for 100%. As the satisfaction towards doing the activities of integrated teaching and learning as a whole and focusing on each item were at the highest level.

 

 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)