มลพิษทางอากาศ ที่มีผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานบริเวณลานจอดอากาศยานท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต

Main Article Content

พชรภณ วีระกิจพานิช
รศ. ปภัสสร ผลเพิ่ม
ดร.พัชนี จันทร์น้อย

Abstract

   การวิจัยเรื่องมลพิษทางอากาศ ที่มีผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานบริเวณลานจอดอากาศยานท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์และเครื่องป้องกันอันตรายจากมลพิษทางอากาศของผู้ปฏิบัติงานบริเวณลานจอดอากาศยาน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอะไรกับอะไร และเสนอแนะแนวทางป้องกันสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานบริเวณลานจอดอากาศยาน ประชากรเป็นผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05 ผลการวิจัยพบว่าผู้ปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่เป็นชาย มีอายุระหว่าง 29-38 ปี สถานภาพสมรส วุฒิการศึกษา อนุปริญญา/ปวส./ปวท. ทำงานกับบริษัทสายการบิน การท่าอากาศยาน และบริษัทต่างๆ เป็นระยะเวลา 1-5 ปี ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง โดยทำงานเป็นกะ ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการอบรมและข้อมูลข่าวสารจากทางบริษัทฯ และได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอันตรายจากมลพิษทางอากาศ การป้องกัน และการใช้อุปกรณ์ป้องกันมลพิษทางอากาศจากสิ่งตีพิมพ์ เอกสาร แผ่นพับ มีความต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายจากมลพิษทางอากาศเพิ่มเติมเพราะเครื่องป้องกันอันตรายจากมลพิษทางอากาศมีความจำเป็นมาก ส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการตรวจสุขภาพและไม่เคยมีประวัติการเจ็บป่วยอื่นๆ มีการยอมรับการใช้อุปกรณ์ และเครื่องป้องกันอันตรายจากมลพิษทางอากาศสูง คิดเป็นร้อยละ 84.20 แต่พฤติกรรมไม่ชอบใช้อุปกรณ์ และเครื่องป้องกันอันตรายจากมลพิษทางอากาศ ผลของมลพิษทางอากาศที่มีต่อสุขภาพทางกายและสุขภาพทางจิตของผู้ปฏิบัติงานอยู่ในระดับน้อย ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น อายุ อายุงาน จำนวนชั่วโมงการทำงานไม่มีความสัมพันธ์กับผลจากมลพิษทางอากาศที่มีต่อผู้ปฏิบัติงานสำหรับแนวทางป้องกันปัญหาสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน ประกอบด้วย บริษัทฯจัดอบรม ให้ความรู้ด้านมลพิษทางอากาศบ่อยครั้งกว่าเดิมรณรงค์ให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเครื่องกรองอากาศหรืออุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ ที่เหมาะสมระหว่างการปฏิบัติงานในลานจอดท่าอากาศยาน

    The purposes of this study were to study the behavion of using use air pollution protective equipment of staffs working at Phuket International Airport, the relationship between the staffs working and the air pollution protective equipment behavior and the recommendation on health prevention of staff working at Phuket International Airport. The instrument used was a set of the questionnaire through 285 staff working at Phuket International Airport. The data were collected and analyzed by using frequency, percentage, average (Mean) standard deviation and Chi-square Test with the significance level of 0.05

       The research results were as follow: (1) The effects of air pollution on the physical and mental health of the staff working at Phuket International Airport were at the low level. (2)The person factor, years working with the company as well as the number of hours had no positive relationship with the effects of the air pollution on the staff working at The Phuket International Airport at the significance level of .05. The recommendations on how to prevent the air pollution at Phuket International Airport were: (1) The company should organize training programs on air pollution as often as possible.(2) They should use campaigns to encourage their staff to were air filters or other proper equipment during working hours at the airport. The company should have database of every staff concerning the hame occurring while operating or sickness resulting from the air pollution. The engines should not were out or should not too old. The equipment should be developed into the modern generation of technology. The company should give suggestions to their staff and give them more knowledge of the harm of odorless toxic gas, enhance the operators’ skills of avoiding sniffing the toxic gas at proximate distance. The company should suggest their staff that they observe the air direction. Staff should not stay under the direction of the air when the toxic gas occurs

 

 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)