การริเริ่มกำหนดงบประมาณรายจ่ายเทศบาลของฝ่ายสภาเทศบาลศึกษากรณีเทศบาลในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

สมชาย โคตรพัฒน์
รศ.นาวาอากาศตรีนิติ ผดุงชัย
รศ.ไฉไล ศักดิวรพงศ์

Abstract

   วัตถุประสงค์การวิจัย 1) ศึกษาความเหมาะสมของกฎหมายอันเกี่ยวหลักการห้ามฝ่ายสภาเทศบาลริเริ่มกำหนดงบประมาณ รายจ่ายของเทศบาล 2) ศึกษาวิธีการปฏิบัติตามกฎหมายอันเกี่ยวหลักการดังกล่าว 3) เพื่อเสนอแนะแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติ กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการทางการเมืองเทศบาลและข้าราชการประจำเทศบาลในจังหวัดจันทบุรี ซึ่งมีทั้งหมด 36 แห่ง แยกออกเป็น ข้าราชการทางการเมืองเทศบาล 270 คน ข้าราชการประจำเทศบาล 144 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 414 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเหมาะสมของกฎหมาย อันเกี่ยวหลักการห้ามฝ่ายสภาเทศบาลริเริ่มกำหนดงบ ประมาณรายจ่ายของเทศบาล ตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง โดยรวมอยู่ใน ระดับมาก 2) วิธีการปฏิบัติตามกฎหมายอันเกี่ยวหลักการห้ามฝ่ายสภาเทศบาลริเริ่มกำหนดงบประมาณรายจ่ายของเทศบาลตาม ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการวิจัยในครั้งนี้ ข้าราชการทางการเมือง และข้าราชการประจำสังกัดเทศบาลในจังหวัดจันทบุรี คือ ไม่ควรลิดรอนสิทธิในการเสนองบประมาณของสมาชิก ควรให้สมาชิกสภามี อำนาจในการกำหนดรายจ่ายได้

    The purposes of the study were 1) to study the appropriateness of law relating to the prohibitive principles on the initiative of the expense budgets determination of the municipal council; 2) to study how to follow the law relating to the mentioned principles and 3) to suggest, revise and improve legislation involved appropriately. The populations comprised of total 360 persons from 36 offices. Of those were 270 municipal political officials, and 144 municipal government officials. Data collection was collected by a simple random from 414 samples. Tool used in this research was questionnaires. The total reliability was 0.83. Statistics used in data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The results found that 1) in views of the samples, the appropriateness of legislation relating to the prohibitive principles on the initiative of the expense budget determination of the municipal council, and the expense budget estimates of the municipalities was at the high level overall; 2) in perspectives of the samples, the procedures of following the principles of law relating to the prohibitive principles on the initiative of the expense budgets determination of the municipal council was at the high level overall; 3) the suggestions and the recommendations of the political officials and the government officials affiliated with the municipalities in Chanthaburi province were that there should not diminish the rights of the council members to propose the expense budgets and the council members should authorize to determine the expenses.

 

 

 

 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)