การพัฒนารูปแบบความเป็นครูของนักศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม

Main Article Content

ผศ.ดร.ทัศนา ประสานตรี

Abstract

   การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาความเป็นครูของนักศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือการศึกษารูปแบบการพัฒนาความเป็นครู และการตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาความเป็นครู ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม แต่ละระยะ มีกลุ่มเป้าหมาย วิธีรวบรวมข้อมูลและวิธีวิเคราะห์ข้อมูล และผลการวิจัย ดังนี้ 1. รูปแบบการพัฒนาความเป็นครูของนักศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม ดำเนินการ ดังนี้ กลุ่มเป้าหมาย คือ อาจารย์ที่สอนนักศึกษาวิชาชีพครู จำนวน 20 คน รวบรวมข้อมูลโดยการระดมสมองอาจารย์ที่สอนนักศึกษา วิชาชีพครู เป็นเวลา 1 วัน เพื่อหารูปแบบความเป็นครูของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสังเคราะห์จากการระดมสมองแล้วเขียนเป็น ความเรียง ผลการดำเนินการระดมสมอง สรุปได้ดังนี้ ด้านสาระความรู้ ประกอบด้วย 1) ความสำคัญของวิชาชีพครู บทบาท หน้าที่ ภาระงานของครู ได้แก่ เรื่องการอบรมสั่งสอนและ ถ่ายทอดวิชาความรู้ 2) พัฒนาการของวิชาชีพครูแบ่งออกเป็น 4 สมัย คือสมัยก่อนมี พ.ร.บ.ครู สมัยมี พ.ร.บ.ครู สมัยมีมาตรฐานวิชาชีพ ครูและสมัยปัจจุบัน 3) คุณลักษณะของครูที่ดี คือ การสอนดี 4) การสร้างทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู ได้แก่ การสร้างความรู้ความเข้าใจใน เนื้อหาที่สอนและการสร้างทัศนคติที่ดีต่ออาชีพครู 5) การเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถภาพความเป็นครู ได้แก่ การศึกษา ฝึกอบรม วิชาเกี่ยวกับครู 6) การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และการเป็นผู้นำทางวิชาการ ได้แก่ การมีความกระตือรือร้นและความสนใจในการเรียนรู้ 7) เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู มาตรฐานด้านความรู้ ได้แก่ ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู 8) จรรยาบรรณของวิชาชีพครู ได้แก่ การมี วินัยในตนเอง 9) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ได้แก่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม ด้านสมรรถนะ ประกอบด้วย 1) รัก เมตตาและปรารถนาดีต่อผู้เรียน ได้แก่ การช่วยเหลือเกื้อกูล 2) อดทนและรับผิดชอบ การอดทน ได้แก่ การอดทนต่อพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน สำหรับความรับผิดชอบ ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อตนเอง 3) เป็น บุคคลแห่งการเรียนรู้และการเป็นผู้นำทางวิชาการ ได้แก่ ความสามารถในการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ 4) มีวิสัยทัศน์ ได้แก่ สร้างวิสัยทัศน์ 5) ศรัทธาในวิชาชีพครู ได้แก่ สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรวิชาชีพครู 6) ปฏิบัติตามจรรยา บรรณของวิชาชีพครู ได้แก่ จรรยาบรรณต่อตนเอง 2. ตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาความเป็นครูของนักศึกษา วิธีที่ใช้ตรวจสอบประกอบด้วยการประชาพิจารณ์และการศึกษาความ พึงพอใจของคณาจารย์และนักศึกษา ผลการประชาพิจารณ์ ผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่ารูปแบบที่พัฒนาด้านสาระ ความรู้ มีความเหมาะสม ร้อยละ 90.00 ความถูกต้องร้อยละ 90.00 และความเป็นไปได้ ร้อยละ 95.00 ด้านสมรรถนะ มีความเหมาะสม ร้อยละ 100.00 ความถูกต้องร้อยละ 100.00 และความเป็นไปได้ ร้อยละ 100.00 ส่วนความพึงพอใจต่อรูปแบบความเป็นครูในทัศนะ ของคณาจารย์อยู่ในระดับมาก สำหรับนักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบความเป็นครูที่พัฒนาขึ้นในระดับมาก

    This research aims 1) to study the teacher developing models of students in Nakhon Phanom University and 2) to examine the teacher developing models. The research is divided into two phases: studying the teacher developing models and examining the developing teacher models of students. Each phase of research conducting includes the target group, data collection and data analysis. The results are as follows: 1. The implementations of teacher developing models of students in Nakhon Phanom University are: The target group is the 20 of teachers teaching the teacher professional students. Data collection was collected by brain storming in one day of teachers teaching teacher professional students in order to find out the teacher developing models. Data analysis was synthesized by brain storming then writing essays. The results of brain storming are concluded at below: The knowledge aspect includes 1) an importance of teacher profession, roles, responsibilities and teachers’ tasks: teaching and knowledge conveying; 2) a development of teacher profession divided into 4 eras: prior to an act of teacher legislation, during an act of teacher legislation and the teacher profession standard, and the current era; 3) the good characteristics of teachers are good teaching; 4) the positive attitude creation towards teacherprofession: knowledge building and understanding the contents taught and building the positive attitudes towards teacher profession; 5) potential reinforcement and competency of teachers: studying the training courses forteachers; 6) being a learning person and academic leader: enthusiasm and learning interest; 7) a criterion of eacher professional standard and knowledge: language and technology for teachers; 8) ethics of teacher profession: self-disciplines; 9) laws related to education: an act of National Education Legislation in 1999 and its additional edition.

The competency aspect comprises 1) having compassion and goodwill to students: helping and supporting; 2) being patient to self-responsibilities and responsible for students’ problem behaviors; 3) being a learning person and academic leader: a capacity in learning person; 4) having vision: visioncreation; 5) believe in teacher  profession: supporting an implementation of teacher profession organization; 6) following ethics of teacher profession: self-ethics. 2. Examining the teacher developing models of students: method of examining consists of public hearing and satisfaction study of lecturers and students. The findings reveal that most participants participating in the public hearing suggested that the developing model in term of knowledge aspect is proper at 90.00%, the accuracy is at 90.00% and the possibility is at 95.00%. In form of competency, the appropriateness is at 100.00%, the accuracy is at 100%, and the possibility is at 100% respectively. The satisfaction towards teacher models in views of lecturers is at the high level. For students satisfaction towards teacher model is at the high level.

 

 

 

 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)