การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการโรงเรียนเทศบาล 7 เทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาบุคลากรในโรงเรียนเทศบาล 7 เทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ให้มีความรู้ความสามารถในการเขียนหน่วยการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ตลอดจนนำแผนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ และศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย มีจำนวน 11 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลมี จำนวน 289 คน ประกอบด้วย วิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ เป็นหัวหน้าศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษานครอุดรธานี จำนวน 1 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน และกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–3 จำนวน 286 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินแผนการเรียนรู้แบบประเมินความพึงพอใจ ผลการศึกษาพบว่า ในวงรอบที่ 1 ใช้กลยุทธ์การอบรมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศการสอน ทำให้กลุ่มผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ความเข้าใจและสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ดังนั้น ผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย จึงได้ประชุมปรึกษา เพื่อหาแนวทางในการดำเนินการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการจากระดับดีเป็นดีมาก ในวงรอบที่ 2 โดยใช้กลยุทธ์การนิเทศการสอนเพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีในการเขียนแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กำหนดเรื่องที่จะสอน 2) กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ 3) กำหนดเนื้อหาย่อย 4) วางแผนการสอน 5) การปฏิบัติการสอน 6) ประเมินปรับปรุงและพัฒนาการสอน และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการให้เหมาะสมและบรรลุตามแผนการสอนที่กำหนดไว้ ได้ในระดับดีมาก ทั้ง 11 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา สามารถปฏิบัติได้จริงและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ผู้ร่วมวิจัยมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยรวม และรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากบุคลากรเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนที่ดีขึ้น มีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ได้รับการพัฒนา ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กล้าแสดงความคิดเห็น กล้าแสดงออก และสนใจการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น นวัตกรรมที่เกิดขึ้น คือ คู่มือการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่ผ่านการทดลองใช้และการเผยแพร่ จึงควรส่งเสริมสนับสนุน ให้นำกลยุทธ์ดังกล่าวไปใช้พัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาอื่นๆ ต่อไป
คำสำคัญ : การวิจัยปฏิบัติการ / การสอนแบบบูรณาการ
ABSTRACT
The purpose of this action research was to improve human resources in the Municipal School 7, UdonThani Municipality, Muang District, UdonThani Province. They would able to understanding and capabilities to develop integrated units of instruction and lesson plan, as well as put the integrated lesson plans to use in integrated learning activities and also, to determine human resources’ satisfaction in integrated learning method.The sample groups comprised 11 researchers and 289 respondents : workshop trainers who were the expertise in the field of integrated learning and work as head of superintendent at UdonThani’s Office of Education, two school administrators, and 286 students in Prathomsuksa 1-3. The research instruments used for collecting data were a questionnaire, tests, observation, interviews, lesson plans assessment, and satisfaction evaluation form. Descriptive statistics were used for data analysis. Results were showed that, in the first cycle from November 1 to 24, 2011, during which the strategies of workshop and instructional supervision, participants had better understanding about integrated learning and could organized integrated lesson plans. As a result, researchers held a meeting on November 28, 2011 to determined ways to adjust its integrated learning activities. In the second cycle between November 28 and December 14, 2011, the strategy was instructional supervision to educate personnel and got better understanding about the 6 strategies of making integrated lesson plans: 1) Theme, 2) Objective, 3) Content, 4) Planning, 5) Performance, and 6) Evaluation and Improvement, then they able to adopt correctly and effectively integrated learning activities. All eleven of them, or 100%, an excellent understood in the content. Therefore, students better understood the content provided by the teachers. What they learned could be put to practical used and adapted to their daily lives. In conclusion, instructional supervision resulted in a positive changed on teaching behavior as well as better learning of integrated learning activities. Human resources’ skills were improved and students could participate the learning activities. They also had more confident to express their opinions and instruct teaching management. These strategies should apply to improve human resources in other educational institutes.
Keywords : Human Resource Development / Integrated Learning