ปัญหาและอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พุทธศักราช 2551กรณีศึกษาตำรวจภูธร จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร จังหวัดอุบลราชธานีในการป้องกันและ ปราบปรามการค้ามนุษย์ 2) เปรียบเทียบปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร จังหวัดอุบลราชธานี โดยจำแนกตามข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล 3) ศึกษาข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานการป้องกันและปราบปรามการค้า มนุษย์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันและปราบปราม รวมทั้งสิ้นจำนวน 2,259 คน กลุ่มตัวอย่าง 340 คน โดยใช้วิธีการแบ่งสัดส่วน (Proportional to Size) และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 ค่าสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีและค่าเอฟ สรุปผลการวิจัย ได้ดังนี้ 1) ปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของ เจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) เจ้าหน้าที่ตำรวจที่อายุ ระดับชั้นยศ สถานภาพการสมรส อายุราชการต่างกัน ปัญหา และอุปสรรคในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ระดับการศึกษา ต่างกัน ปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน 3) ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ดังนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ มากที่สุด คือขาดงบประมาณสนับสนุน ขาดอุปกรณ์เครื่องมือ ในการปฏิบัติหน้าที่และประชาชนยังไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร ทำงานรับผิดชอบหลายด้านทำให้การทำงานด้านนี้ไม่บรรลุเป้าหมาย และขาดความรู้ความเข้าใจในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
This study aimed to : 1) Examine the problems and barriers of police officers in Ubon Ratchathani province in prevention and suppression on human trafficking; 2) Compare the problems and barriers of prevention and suppression on human trafficking of the police officers in Ubon Ratchathani that were classified by personal background information; and 3) Study the suggestions in prevention and suppression on human trafficking of the police officers in Ubon Ratchathani. The sample used in this study was a totally 2,259 of the police officers who were responsible for prevention and suppression on human trafficking. The samples were 340 police officers selected by simple random sampling. Tool used in data collection was questionnaire. Total reliability was 0.86. Percentages, mean, standard deviation, t-test and f-test values. The results were as follows : 1) The problems and barriers of prevention and suppression on human trafficking were at a medium level overall ; 2) Age, title ranking, marital status, work period of police officers overall and individual were not different. In term of various educational levels, the problems and barriers of prevention and suppression on human trafficking overall and individual were different ; 3) The most suggestions and recommendations of the police officers were : inadequate subsidiary fund and equipment, lack of good cooperation from people, lack of knowledge relevant to jobs involved, and multiple jobs causing the polices did not reach the objectives of prevention and suppression on human trafficking.