การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้โปรแกรมการกำกับตนเอง โรงเรียนบ้านวังเวิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3

Main Article Content

ทวีทรัพย์ มาละอินทร์
ผศ.ดร.สำราญ กำจัดภัย
ผศ.ดร.ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์

Abstract

     การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีปัญหาสมรรถภาพ ทางกายไม่ผ่านเกณฑ์ โดยใช้โปรแกรมการกำกับตนเอง กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนบ้านวังเวิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 จำนวน 5 คน โดยมีการดำเนินการ 3 วงรอบ ในแต่ละวงรอบมี การดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นวางแผน (Planning) 2) ขั้นปฏิบัติตามแผน (Acting) 3) ขั้นสังเกต ติดตาม และประเมินผล (Observing) 4) ขั้นสะท้อนผลเพื่อการปรับปรุง (Reflecting) การเรียนรู้มี การสะท้อนผลการเรียนและปรับปรุงการจัดกิจกรรมอย่าง ต่อเนื่องทุกวงรอบได้แก่ วงรอบที่ 1 การเสริมความรู้เกี่ยวกับสมรรถภาพทางกาย วิธีการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายที่ถูกวิธี และ การกำกับตนเอง วงรอบที่ 2 การฝึกปฏิบัติการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย และวงรอบที่ 3 การจัดทำโปรแกรมการกำกับตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) โปรแกรมการกำกับตนเอง 2) ชุดฝึกกิจกรรมการออกกำลังกาย 3) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย 4) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ และ 5) แบบบันทึกพฤติกรรม ผลการวิจัยพบว่า สมรรถภาพทางกายของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย หลังการพัฒนาโดยใช้โปรแกรมการกำกับตนเอง ตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการผ่านเกณฑ์การทดสอบสมรรถภาพทางกายที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 80 ทุกคน

    This action research was to develop physical competence of the students of lower secondary level who with had problems in physical competence performance by using self-regulation programs. The target group consisted of 5 lower secondary students in the first semester of 2011 academic year at Ban Wang Woen School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3. A three – spiral action research with 4 phases comprising 1) Planning, 2) Action, 3) Observation and 4) Reflection was applied in this study. Spiral 1 : Enhancement of knowledge about physical competence that how to build physical potentiality in proper ways, self-regulation and control; Spiral 2 : The exercises to strengthen physical competency; Spiral 3 : Provision of self-regulation programs. The instruments used for this research were: 1) Self-regulation programs, 2) 10 sets of training activities, 3) A test of physical competency, 4) A test to measure knowledge and understanding, 5) Student behavior forms. The findings of this study were as follows: The physical competence among the target group after the development using self-regulation programs based on action research, it was determined that each student achieved the criteria of physical competence performance set at 80 percentage.

 

 

 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)