การเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง สมดุลเคมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะกับบทเรียนสำเร็จรูป
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่องสมดุลเคมีของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะกับบทเรียนสำเร็จรูป ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1-5/7 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนนาแกสามัคคีวิทยา อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม จำนวน 257 คน จาก 7 ห้องกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวนn 38 คน จัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 จำนวน 39 คน จัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.96 แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ 0.86 แบบสอบถามความพึงพอใจ 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบที t-test (Independent Samples) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก ทักษะกับบทเรียนสำเร็จรูป มีการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนเก่ง และที่เรียนอ่อน ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะกับบทเรียนสำเร็จรูป มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน 3) นักเรียน ทั้ง 2 กลุ่ม มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
The purpose of this study was to compare analytical thinking and learning achievement of Chemistry on “Chemical Equilibrium”of Matthayomsuksa 5 Students taught by usingthe skill practical tests and programmed instructional Lessons. The research population comprises of Mattayomsuksa 5 students studying in the first semester of the academic year 2011, Nakaesamakkiwittaya School, Nakae district, Nakhon Phanom province. The first group was the 38 students of the classroom no. 5/1 selected through a random sampling method and learning management by the skill practical tests. The second one wasthe 39 students of the classroom no. 5/6 through learning by the programmed instructional lessons. The tools used in the research conducting were the total 40 items of four multiple choices of learning achievement tests designed for the sample students of Matthayomsuksa 5 which its total reliability is 0.96 and 0.86 for the 20 items of analytical thinking tests. The total reliability of 20 items towards the satisfaction questionnaire tests is 0.90. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, and hypothesis testing through t-test independent sampling. The findings of the study were as follows: 1) During the learning management used the skill practical tests and programmed instructional lessons, the Matthayomsuksa 5 students had an analytical thinking; the learning achievement did not different; 2) Both poor and smart students who studied through the skill practical tests and programmed instructional lessons during the learning management had the learning achievement differently and 3) Both groups of students satisfy learning management in each group is at the high level overall.