การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

วชิรดล คำศิริรักษ์
อุษา ปราบหงษ์
ถาดทอง ปานศุภวัชร

Abstract

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่คาดหวัง และความต้องการจำ เป็น เกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3) พัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 4) ศึกษาผลการใช้รูปแบบกิจกรรมที่พัฒนาขึ้น และ 5) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพรเจริญวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2557 จำนวน 38 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) แบบวัดเหตุผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์2) แบบประเมินพฤติกรรมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test

ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 18 ด้าน 2) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยู่ในระดับมากทุกด้านทั้งในส่วนของสภาพที่เป็นจริง และสภาพที่คาดหวัง ส่วนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่มีความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างได้แก่ (1) ความรับผิดชอบ, (2) มีวินัย, (3) ใฝ่เรียนรู้, (4) ประหยัด/อยู่อย่างพอเพียง และ (5) ตรงต่อเวลา 3) รูปแบบกิจกรรมมีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 4.21, S.D = 0.45) 4) ผลการใช้รูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พบว่านักเรียนมีเหตุผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมีพฤติกรรมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 5) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 4.20,S.D = 0.75)

    The purposes of this study were to 1) study the desirable characteristics of lower secondary students; 2) study the reality, expectations and needs about desirable characteristics; 3) develop an activity model to enhance desirable characteristics; 4) study the results from the implementation of the developed activity model and 5) studyn student satisfaction towards the developed activity model to enhance desirable characteristics. The samples in this study were 38 lower secondary 2 students at Porncharoenwittaya School in the first semester of academic year B.E. 2557 (2014), selected by using cluster random sampling. The research instruments employed were 1) a reasoning test on desirable characteristics; 2) a behavioral assessment test on desirable characteristics and 3) a questionnaire on the satisfaction towards the developed activity model to enhance desirable characteristics. The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test. The study revealed the following results: 1) lower secondary students possessed 18 desirable characteristics;m 2) the desirable characteristics of lower secondary students were at a high level in all traits, both in reality and expectations. Meanwhile, the desirable characteristics that were in need of enhancement were (1) responsibility; (2) discipline; (3) enthusiasm for learning; (4) frugality/sufficiency and (5) punctuality; 3) the overall quality of thedeveloped activity model was at a high level (x = 4.21, S.D = 0.45); 4) The implementation results of the developed activity model to enhance desirable characteristics yielded that students' reasons and behaviors on desirable characteristics after learning was higher than before learning at a statistically significant level of .01 and 5) the overall student satisfaction towards the developed activity model to enhance desired characteristics was at a high level (x = 4.20 , S.D = 0.75).

 

 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)