กลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาเพื่อเตรียมการเข้าร่วมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Main Article Content

เอกรัตน์ เอกศาสตร์
สุรัตน์ หงษ์ไทย
วิภาวี พูลทวี
อิศริย์ เดชตานนท์ เดชตานนท์

Abstract

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานภาพทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา 2) ศักยภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาเมื่อจำแนกตามสาขาการผลิต และ 3) กลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจสาขาเกษตรกรรมเพื่อเตรียมการเข้าร่วมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มเป้าหมาย คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ เช่น การสัมภาษณ์ การจัดเวทีสนทนากลุ่ม และการจัดเวทีประชาคม และข้อมูลทุติยภูมิจากข้อมูลเอกสารของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงปริมาณ

ผลการวิจัยพบว่า 1) จังหวัดนครราชสีมามีความโดดเด่นทั้งด้านภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การค้า การลงทุน การคลังการเงิน การจ้างงาน และการท่องเที่ยว 2) สาขาการผลิตที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจและถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นดาวดวงเด่น มีจำนวน4 สาขา คือ สาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ สาขาการศึกษา สาขาการบริการด้านสุขภาพและสังคม และสาขาลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล และ 3) กลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจสาขาเกษตรกรรมเพื่อเตรียมการเข้าร่วมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมี 6 กลยุทธ์ คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร การเร่งรัดการค้นหาตลาดเพื่อเชื่อมโยงไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การพัฒนาระบบบริหารจัดการสินค้าให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันได้กับประเทศในกลุ่มอาเซียน การสร้างความเข้มแข็งให้กับบุคลากรด้านการเกษตร และการยกระดับเกษตรกรรมดั้งเดิมสู่เกษตรอินทรีย์

    The objectives of this study were : 1) to investigate the general economic status in the Nakhon Ratchasima province area, 2) to examine the economic potential of the Nakhon Ratchasima province area as classified by production sectors, and 3) to enquire into the economic development strategies in the sector of agriculture to prepare for joining the ASEAN Economic Community of Nakhon Ratchasima province. The target group consisted of both government and private sectors together with Nakhon Ratchasima people. Primary data were collected through interviews, focus group discussions, and public forum. The secondary data were collected from information and  documents provided by concerned organizations. Data analysis employed descriptive analysis and quantitative analysis.The findings revealed as follows : 1) Nakhon Ratchasima province performed outstandingly in the areas of agriculture, industry, trade, investment, finance, employment and tourism; 2) considering the production sectors which showed economic potential and were ‘Stars’, they were four sectors as the following: agricultural sector – hunting and forestry, education sector, social and health service sector, and sector of employees in the private households; and 3) the economic development in the sector of agriculture to prepare for joining the ASEAN economic community comprised 6 strategies: increasing the production effectiveness and reducing the cost of production of agricultural products, searching intensively for marketing in linkage to the AEC, promoting and encouraging the investment in the Southeast Asia region, developing a merchandise management system in order to have a capacity to compete with the other ASEAN countries, strengthening the agricultural workforce, and upgrading of traditional farming to organic farming.

 

 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)