A Study of the Marketing Channels of Ban Klang’s Layer Chicken Feeders’Cooperative in Nakhon Phanom Province
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาช่องทางการตลาดของกลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่บ้านกลาง ตำ บลบ้านกลาง อำ เภอเมือง จังหวัดนครพนม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำ รวจและเชิงคุณภาพ ซึ่งทำ การสัมภาษณ์และสังเกตการณ์ประชากรที่เป็นเกษตรกรทั้งหมด จำนวน 48 ราย (ร้อยละ 100) และทำการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) พ่อค้าส่งหรือผู้รวบรวม จำนวน 81 ราย แม่ค้าปลีก จำนวน 30 ราย และผู้บริโภค จำนวน 120 ราย โดยพิจารณาความโดดเด่นจากปัจจัยปริมาณไข่ไก่ที่จำหน่วย พื้นที่ในการจำหน่าย ทั้งนี้สถิติที่วิเคราะห์ข้อมูล คือ จำนวน (N) ผลรวม (ΣX) ร้อยละ (%) และค่าเฉลี่ย (X) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.28-0.76 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 ผลการวิจัยพบว่า มี 2 รูปแบบในการจัดจำหน่ายไข่ไก่ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 มีการจำหน่ายภายในประเทศ 4 ช่องทาง คือ 1) ฟาร์ม ผู้รวบรวม พ่อค้าคนกลาง พ่อค้าปลีก และผู้บริโภค (ร้อยละ 51.98) 2) ฟาร์ม ผู้รวบรวม พ่อค้าปลีก และผู้บริโภค (ร้อยละ 26.73) 3) ฟาร์ม พ่อค้าปลีก และผู้บริโภค (ร้อยละ 17.13) 4) ฟาร์ม และผู้บริโภค (ร้อยละ 4.16) และรูปแบบที่ 2 มีการจำ หน่ายภายในประเทศ และต่างประเทศ 3 ช่องทาง คือ 1) ฟาร์ม ผู้รวบรวม พ่อค้าคนกลาง พ่อค้าปลีก และผู้บริโภค (ร้อยละ 39.83) 2) ฟาร์ม ผู้รวบรวมพ่อค้าปลีก และผู้บริโภค (ร้อยละ 32.61) 3) ฟาร์ม พ่อค้าปลีก และผู้บริโภค (ร้อยละ 27.56) รวมปริมาณผลผลิตไข่ไก่สำหรับเพื่อการบริโภคภายในจังหวัดนครพนมและจังหวัดใกล้เคียง และส่งออกไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 29,362 ถาด/สัปดาห์ หรือ 125,837 ฟอง/วัน หรือคิดเป็นมูลค่า 304,970 บาท/วัน ซึ่งคิดเป็นเงินทุนหมุนเวียนในบ้านกลาง 9,149,100 บาท/เดือน