การศึกษาวงดนตรีหล่อโก้ว สมาคมฮั่วเคี้ยวเฮียบหวย อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร

Main Article Content

กฤดิ์มณี พลประถม
รุจี ศรีสมบัติ
กาญจนา อินทรสุนานนท์

Abstract

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวงดนตรีหล่อโก้วของสมาคมฮั่วเคี้ยวเฮียบหวย อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร 2) ศึกษาวงดนตรีหล่อโก้วสมาคมฮั่วเคี้ยวเฮียบหวย อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โดยใช้ข้อมูลภาคสนามเป็นหลัก และใช้ข้อมูลทางด้านเอกสารประกอบการศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า 1) วงดนตรีหล่อโก้วของชาวตะพานหิน ได้ก่อตั้งขึ้นจากสมาชิกชมรมดนตรีจีน ซึ่งเป็นชาวจีนแต้จิ๋วที่อพยพมาเข้ามาอยู่ในอำเภอตะพานหิน ประมาณปี พ.ศ. 2480 ภายหลังคณะกรรมการและอาจารย์ผู้สอนได้ส่งมอบวงดนตรีหล่อโก้วให้กับสมาคมฮั่วเคี้ยวเฮียบหวย หลังเสร็จสิ้นจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร ชาวจีนจะว่าจ้างงิ้วมาแสดงเพื่อตอบแทนเทพเจ้าที่ช่วยคุ้มครองดูแลให้การงานราบรื่นตลอดปี และการอัญเชิญเทพเจ้าออกจากศาลเจ้านั้น จำเป็นต้องมีวงดนตรีหล่อโก้วบรรเลงในพิธีป่วงจับเซียงเพื่อความสิริมงคล จึงเกิดเป็นงานประจำปีเจ้าพ่อเจ้าแม่ปึงท้าวกงม่า ประกอบด้วย พิธีกรรมเชิญเจ้า พิธีกรรมส่งเจ้า พิธีกรรมแห่เปีย พิธีขึ้นเสาทีกงเต็ง 2) วงดนตรีหล่อโก้วสมาคมฮั่วเคี้ยวเฮียบฮวย อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เป็นดนตรีจีนแต้จิ๋วซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อพิธีกรรมเป็นดนตรีที่มีพลังและความศักดิ์สิทธิ์ เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) เครื่องดนตรีประเภทบรรเลงทำนอง และ2) เครื่องดนตรีประเภทประกอบจังหวะ บทเพลงที่ใช้บรรเลงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) เพลงประกอบพิธีกรรม 2) เพลงบรรเลงทั่วไป มีการถ่ายทอดการสอนดนตรีด้วยวิธีมุขปาฐะ และการสอนด้วยวิธีสาธิตให้กับนักดนตรี วงดนตรีหล่อโก้วเป็นวงดนตรีที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น มีลักษณะเฉพาะตัว เป็นดนตรีที่มีแบบแผน แสดงให้เห็นถึงความเข็มแข็งทางวัฒนธรรมประเพณีความเชื่อและพิธีกรรมที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ วงดนตรีหล่อโก้วสมาคมฮั่วเคี้ยวเฮียบหวยได้สร้างชื่อเสียงและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับชาวอำเภอตะพานหินตลอดจนยังแสดงให้เห็นความสามัคคีของคนในชุมชน ความรักใคร่กลมเกลียวของคนตะพานหิน ทั้งคนจีน - ไทย ที่ช่วยรักษาธรรมเนียมประเพณีและสืบสานวัฒนธรรมที่มีมาแต่อดีตให้คงอยู่สืบไป

    The purposes of this study were: 1) to investigate the background and related culture of Luogu Music Bandof Hua Khiew Hiab Huy Association, Taphanhin district, Phichit province, 2) to examine the Luogu Music Band of HuaKhiew Hiab Huy Association, Taphanhin district, Phichit province by using the fieldwork data and printed matter.The findings of study were: 1) The Luogu Music Band of Taphanhin district people was established by the members of the Chinese Music Club who were Chinese people migrating from Chaozhou to settle in Taphanhin district in 1937. Later on the committee and instructors of music handed over the Band to Hua Khiew Hiab Huy Association. After the end of each harvest season, the Chinese people would hire a Chinese opera to play in return to Gods for protecting and facilitating smooth works all year long. In addition, Gods were summoned from the shrine and a Luogu Music Band must be used to play in the Puang Chab Sieng ceremony (Teochew opera) to bless for luck. According to this event, there were annual ceremonies to worship the guardian spirits (Pueng Thao Kong Ma) which consisted of summoning Gods from the shrine, sending Gods to the heaven, rising a lantern pillar (Tee Kong Teng) and Hae Pia ceremony. 2) The Luogu Music Band of Hua Khiew Hiab Huy Association, Taphanhin district, Phichit province was a Chinese music band which played an important role for ceremonies. Its music was filled with power and holiness. The music instruments were divided into 2 types: 1) orchestras instrument, and 2) percussion instrument. Music was divided into 2 types: 1) music for ceremony, and 2) music for playing in general. The music teaching methods were used through oral transmission and demonstration. The Luogu Music band showed its identity, outstanding performance, uniqueness, traditional pattern. It presented the strength of culture and tradition, belief, and ceremony which was inherited from their ancestors. The Luogu Music Band of Hua Khiew Hiab Huy Association has built its reputation and helped stimulate economy for the Taphanhin district people. Especially, we could see the unity of people in the community, fraternal affection, and harmony of Taphanhin district people whether they were Chinese or Thai, who helped preserve the custom and tradition and carried on the culture from the past to remain forever.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)