การศึกษาสภาพการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

เชวงศักดิ์ เทวะสิงห์
สมชาย วงษ์เกษม
จำเนียร พลหาญ พลหาญ

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการปฏิบัติหน้าที่ของนักวิชาการศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดมหาสารคาม 2) เปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติหน้าที่ของนักวิชาการศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดมหาสารคาม และ3) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดมหาสารคามกลุ่มตัวอย่างคือ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 67 คน ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 67 คน นักวิชาการศึกษาจำนวน 71 รวม จำนวน 205 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จากตารางเคร็จซี่และมอร์แกน และสุ่มแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20–0.87 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 และ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน F-test (One-way ANOVA) และทดสอบรายคู่ โดยวิธีของ Sheffe

ผลการวิจัยพบว่า 1) การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดมหาสารคามโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ด้านส่งเสริมการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ด้านบริหารการศึกษา และด้านนิเทศการศึกษา 2) บทบาทหน้าที่ของนักวิชาการศึกษา จำแนกตามสถานภาพ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักวิชาการศึกษา ควรกำหนดนโยบายและแผนงานด้านการศึกษาที่ชัดเจน ดำเนินการตามแผนงานควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับความต้องการ ควรจัดทำแผนปฏิบัติงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นปฏิบัติตามแผน และประเมินผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน และควรกำหนดให้การนิเทศการบริหารและการจัดการศึกษาอยู่ในแผนปฏิบัติการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรให้คำปรึกษาแนะนำปัญหาทางวิชาการ พัฒนาส่งเสริมให้คิดค้นพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา และจากการศึกษาเชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมาย ด้านการนิเทศการศึกษาได้ให้ความสำคัญเรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย 3 อันดับ ได้แก่ 1) ควรกำหนดให้การนิเทศการบริหารและการจัดการศึกษาอยู่ในแผนปฏิบัติการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) ควรนิเทศ ติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่องโดยใช้รูปแบบการนิเทศที่หลากหลาย และ 3) ควรส่งเสริมความก้าวหน้าและเสริมสร้างขวัญกำลังใจแก่นักวิชาการศึกษา

    The objectives of this study were to: 1) investigate the operational conditions of education academics under the Local Administration Organizations (LAOs), Maha Sarakham province, 2) compare the performance of duties of education academics under the LAOs, Maha Sarakham province, and 3) examine some suggestions about the operations based on the role of education academics under the LAOs, Maha Sarakham province. A sample consisted of 67 chief executives of the LAOs, 67 chief administrators of the LAOs, and 71 education academics totaling 205 people. The sample size was determined using the Krejcie and Morgan’s table and the sample was selected by stratified random sampling. The instruments used were as follows: 1) A 5-rating scale questionnaire whose discrimination power values being ranged between 0.20 and 0.87 and entire reliability coefficient of 0.95, and 2) an interview guide. The statistics used for analyzing data were frequency, mean, standard deviation, F-test and Scheffe’s test for a pairwise comparison. The results showed as follows. 1) The overall operational condition based on the role of education academics under the LAOs, Maha Sarakham province was at moderate level. The rankings were put in order from higher to lower mean scores for the following aspects respectively, namely promotion of religion and culture, educational administration, and educational supervision. 2) The role of education academics as classified by status as a whole and each aspect was found significantly different at the .05 level. 3) Education academics should set clear policies and plans on education and then proceed as planned. A budget should be allocated to meet the need. An action plan should be prepared. Local arts, culture, and traditions should be promoted. The plans should be followed and performance be evaluated systematically. Community relationships should be created. Educational supervision, administration and management should be in the action plan of the LAOs. Counseling and guidance on technical problems should be provided. The development of educational media, innovations and technology should be encouraged. From the in-depth study with the target group which gave priority to educational supervision as shown in the frequencies of gains, the rankings as arranged from higher to lower frequencies were as follows. 1) Educational supervision, administration, and management should be in the action plan of the LAOs. 2) Supervision should be continuously monitored and evaluated using various forms of supervision. And 3) education academics’ advancement and morale should be promoted.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)