การพัฒนาหลักสูตรรายวิชา เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงเครือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนท่าแร่ศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23

Main Article Content

พรทิพย์ พงษ์พันนา
สำราญ กำจัดภัย
ประยูร บุญใช้

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรรายวิชา เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงเครือ กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนท่าแร่ศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ที่มี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ เท่ากับ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยหลักสูตร ที่สร้างขึ้น 3) ศึกษาทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียน และ 4) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนของนักเรียนด้วยหลักสูตรที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนท่าแร่ศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 34 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการและความคิดเห็นในการจัดทำ หลักสูตร แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือก ตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.35-0.80 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.20-0.80 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 3) แบบทดสอบภาคปฏิบัติทักษะการปฏิบัติงาน มีค่าความสอดคล้องระหว่างทักษะที่ต้องการวัดกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้เท่ากับ 1.00 หมายถึงมีความเหมาะสมในระดับมาก สามารถนำไปใช้ได้ และ 4) แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหลักสูตร ประกอบด้วย ข้อความ จำนวน 25 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดย การทดสอบค่าที t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรรายวิชา เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงเครือที่พัฒนาขึ้น มีความหมาะสมอยู่ในระดับมาก (\inline \bar{X} = 4.43) และมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.25/81.32 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับร้อยละ 80.03 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 70 และ 4) เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนตามหลักสูตร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (\inline \bar{X} = 4.82)

     The purposes of this study were 1) to develop and investigate efficiency of a curriculum for the course entitled “Ban Chiang Khruea’s Pottery Making” in the Technology and Career Learning Substance Group for MathayomSuksa 2 students at TharaeSuksa School under the Office of Secondary Education Service Area 23 to meet the standard criterion of 80/80, 2) to compare the students’learning achievements before and after the treatment with the constructed curriculum, 3) to investigate students’ performance skills, and 4) to examine students’ attitude towards learning through this curriculum. The sample obtained through cluster random sampling technique was 34 Mathayom-Suksa-2 students at TharaeSuksa School in the first semester of academic year 2012. The instruments used for data collection were: 1) A 5-rating scale questionnaire asking for need and opinion concerning construction of a curriculum which was at a high level of appropriateness; 2) a 40-item test of learning achievement with 4 answer choices whose difficulty value ranged between 0.35 and 0.80, discrimination power values ranged between 0.20 and 0.80, and entire reliability value was 0.81; 3) a test of practice and skills in performance whose consistency value between the skills to measure and the objectivesdetermined was 1.00. That means the test was appropriate at the high level and could be implemented, and 4) a test of students’ attitude towards learning through the curriculum comprising 25 items. Statistics used to analyze data were percentage, mean, standard deviation, t-test of dependent samples for hypothesis testing. The findings were as follows: 1) The developed curriculum for the course “Ban Chiang Khruea’s Pottery Making” was appropriate at the high level (\inline \bar{X}= 4.43) and it had efficiency of 83.25/81.32 which met the set standard criterion; 2) students’ learning achievement was significantly higher than that before learning at the .01 level; 3) students’ skills in practice gained the mean score equal to 80.03% which was higher than the criterion set at 70%; and 4) students’ attitude towards learning through the curriculum as a whole was at the highest level (\inline \bar{X} = 4.82).

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)