การพัฒนาชุดฝึกทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วย ชุดฝึกทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ การเรียนด้วยชุดฝึกทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนบ้านนาน้อย จำนวน 20 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) ชุดฝึกทักษะกีฬาฟุตซอล 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามชุดฝึกทักษะกีฬาฟุตซอล 3) แบบประเมินทักษะปฏิบัติ 4) แบบทดสอบผล สัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าเฉลี่ย ค่า E1/E2 และการทดสอบ (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดฝึกทักษะกีฬาฟุตซอลมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.80/ 85.33 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจของ นักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 อยู่ในระดับมากที่สุด
The purposes of this study were : 1) to investigate efficiency of the futsal skill practice package in the Health and Physical Education Learning Substance Group for Prathom Suksa 4 students with the criterion set at 80/80, 2) to compare learning achievement before and after using the futsal skill practice package in the Health and Physical Education Learning Substance Group, and 3) to examinestudents’ satisfaction of using the futsal skill practice package in the Health and Physical Education Learning Substance Group. The sample consisted of 20 Prathom Suksa 4/1 students in Ban Na Noi School selected by cluster random sampling. The instruments used for collecting data were: 1) a futsal skill practice package in the Health and Physical Education Learning Substance Group; 2) learning management plans according to the futsal skill practice package ; 3) a practice skill evaluation form; 4) a test of learning achievement, and 5) a questionnaire of students’ satisfaction. Statistics used to analyze data were percentage, standard deviation, mean, the E1/E2 criterion value, and t-test. The findings of this study were as follows : 1) The futsal skill practice package in the Health and Physical Education Learning Substance Group had the efficiency of 86.80/85.33; 2) the learning achievement of students after using the futsal skill practice package in the Health and Physical Education Learning Substance Group was significantly higher than that before using it at the .01 level; 3) the mean score of students’ satisfaction was 4.69 which was at the highest level.