ผลการจัดการเรียนรู้บทอาขยานตามกระบวนการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนรุ่งอรุณ ที่มีต่อความสามารถในการอ่านและเจตคติ ของนักเรียนชั้นคละ ระดับประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้บทอาขยาน ตามกระบวนการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนรุ่งอรุณ ที่มีต่อความสามารถในการอ่าน โดย 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจำนวนคำที่อ่านออกเสียงผิดของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัด การเรียนรู้ และเปรียบเทียบคะแนนความเข้าใจในการอ่านบทอาขยานกับคะแนนเกณฑ์ผ่านของโรงเรียน ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 50 ของ คะแนนเต็ม 2) เปรียบเทียบคะแนนเจตคติของนักเรียนที่มีต่อบทอาขยาน ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการจัด การเรียนรู้ของโรงเรียนรุ่งอรุณ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นคละระดับประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนรุ่งอรุณ จำนวน 25 คน เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 12 คน และนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 13 คน ผู้วิจัยเป็นผู้ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผนๆ ละ 60 นาที ใช้ระยะเวลาในการจัดกระบวนการเรียนรู้ทั้งสิ้น 11 สัปดาห์ ผู้วิจัยเป็นผู้จัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกความสามารถในการอ่านออกเสียง แบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านบทอาขยาน และแบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อบทอาขยาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการอ่านออกเสียงบทอาขยานดีขึ้น โดยมีจำนวนคำที่อ่านผิดลดลง 2) นักเรียนมีคะแนนความเข้าใจในการอ่านบทอาขยานเฉลี่ย 30.9 คะแนน จากคะแนนเต็ม 39 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 79.2 ของ คะแนนเต็ม 3) นักเรียนมีเจตคติก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้เฉลี่ย 3.0 คะแนน และหลังจากที่นักเรียนได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้ นักเรียนมีเจตคติเฉลี่ย 3.3 คะแนน ซึ่งคะแนนเจตคติของนักเรียน หลังจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้
The purpose of this study was to investigate the effects of RoongAroon School’s memorized text learning management according to the learning management process upon readings ability through 1) comparison between the gained mean scores of a number of words which students made a mistake when reading aloud before and after the learning management and comparison between the score gained from memorized text reading comprehension and that based on a percentage of 50 out of the full score as a passing criterion set by the School, 2) comparison between students’ gained scores of attitude towards the memorized text before and after the treatment with learning management according to the RoongAroon School’s learning management process. The target group was 25 primary students in a mixed class of the 3rd and 4th graders enrolled in the first semester of academic year 2010 at RoongAroon School comprising 12 students in the 3rd grade and 13 students in the 4th grade. The researcher designed 12 learning management plans; each of which was as long as 50 minutes. The learning process management lasted for 11 weeks. The researcher managed learning by herself. The instruments used were a form for taking a note of ability in reading aloud, a test of memorized text reading comprehension and a form for measuring students’ attitude toward the memorized text. Data analysis was done using percentage and mean. The findings revealed 1) that students were able to read aloud the memorized text better with a decreased number of mistaken words when read, 2) that students gained a mean score of 30.9 from memorized text reading comprehension from the full score of 39 or 79.2% of the full score, and 3) that students gained a mean score of 3.0 in attitude before learning management and of 3.3 in attitude after the treatment. The students’ attitude score after learning management was higher than that before the treatment.