ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

Main Article Content

ณัฐกฤตา สิทธิฤทธิ์
ประสาท อิศรปรีดา
สุมาลี ศรีพุทธรินทร์

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาของ สถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาของสถานศึกษา และ 4) ศึกษา อำนาจการพยากรณ์ของภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 331 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.31 – 0.87 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำโดยภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2) สถานศึกษาดำเนินงานปฏิรูปการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำของ ผู้บริหารกับการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาของสถานศึกษา ทั้งโดยรวมและรายด้าน มีความสัมพันธ์กันในทางบวก 4) ตัวแปรภาวะ ผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่สามารถพยากรณ์การดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาของสถานศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การดลใจ การมุ่งความสัมพันธ์เป็นรายคน และการกระตุ้นการใช้ปัญญา ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการได้ ดังนี้ สมการในรูปคะแนนดิบ Y = 2.180 + .243X2 + .171X3 + .066X4 สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = .523Z2 + .290Z3 + .124Z4

     The purposes of this study were to 1) investigate school administrators’ leadership, 2) examine schools’ performance of an educational reform, 3) discover the relationship between school administrators’ leadership and schools’ performance of an educational reform, and 4) determine predictive power of school administrators’ leadership concerning performance of an educational reform by schools under the Office of Buengkan Primary Education Service Area. The sample was 331 people comprising school administrators and teachers under the Office of Buengkan Primary Education Service Area selected by multi-stage random sampling. The instrument used wasa 5-rating scale questionnaire with the discrimination powers ranging between .31 and .87 and the entire reliability value of .98. Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, Pearson’s simple correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis. The results disclosed as follows: 1) The school administrators had leadership as a whole and each aspect at the high level; 2) the schools performed an educational reform as a whole and each aspect at the high level; 3) the school administrators’ leadership had a positive correlation with the schools’ performance of an educational reform as a whole and each aspect; 4) the variables of school administrators’ leadership that could significantly predict the schools’ performance of an educational reform consisted of inspiration, individual relationship-oriented, and stimulation of making use of intelligence. The equations could be written as follows: The prediction equation in the form of raw score: Y = 2.180 + .243X2 + .171X3 + .066X4 The prediction equation in the form of standard score: Z = .523Z2 + .290Z3 + .124Z4

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)