การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

สกุณา ชนะศึก
ชัยยนต์ เพาพาน

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ 2) ศึกษาข้อเสนอแนะของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองเด็กเล็ก จำนวน 270 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การ บริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า 1) ด้านบุคลากร และบริหารจัดการอยู่ในระดับมาก ควรให้มีการบริหารจัดการจัดสรรอาหารกลางวันและอาหารเสริมนมให้เด็กเล็กอย่างเพียงพอ 2) ด้านวิชาการยู่ในเกณฑ์ระดับมากของกิจกรรมหลักสูตร คือการประเมินพัฒนาการของเด็กเล็กทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการรายงานให้ผู้ปกครองทราบเป็นระยะ 3) ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากชุมชน อยู่ในระดับมาก คือครูผู้ดูแลเล็ก/ผู้ดูแลเด็ก ช่วยเหลือและให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองในกรณีเกิดปัญหากับเด็ก และชุมชนมีส่วนร่วม ในการกำกับดูแลด้านโภชนาการ และ 4) ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยอยู่ในระดับปานกลาง คือ ความสะอาด ปลอดภัยของอาหารกลางวันและอาหารเสริมนม ความสะอาดเรียบร้อยภายในห้องเรียนและการจัดสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้ ของเด็ก 2. ข้อเสนอแนะของผู้ปกครองมีดังนี้ ผู้บริหารควรจัดสรรงบประมาณเพื่อบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพิ่มมากขึ้นและจัดสรร ตำแหน่งผู้ดูแลเด็กให้เพียงพอต่อศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรมีสถานที่จอดรถรับ-ส่งให้สะดวกแก่ผู้ปกครองและมีมาตรการป้องกันอัคคีภัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรตกแต่งห้องเรียนให้เป็นระเบียบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรสอนให้เด็กเขียนชื่อและนามสกุลของตนเองได้เพิ่ม ทักษะการเขียน การวาดให้เด็กเพิ่มสื่อการเรียนการสอนให้ทันสมัย และควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนด้านการศึกษาของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตลอดจนแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ผู้ปกครองทราบอย่างต่อเนื่อง

     The objectives of this study were (1) to investigate a degree of guardians’ satisfaction of educational management by the child development centers and (2) to examine guardians’ suggestions for educational management of the child development centers affiliated with sub-district administration organizations in Namon district, Kalasin province. The sample was 270 guardians of their children. The instrument for collecting data of study was a rating scale questionnaire whose reliability coefficient was 0.77. Statistics used to analyze data included percentage, mean, and standard deviation. The results of this study were as follows: 1. The guardians, overall, were satisfied with educational management by the child development centers in Namon district, Kalasin province at the high level. Considering it by aspect, it was found that: 1) the aspect of personnel and management was at the high level. The young children should be provided with sufficient lunch and milk, 2) the academic aspect of curriculum activity at the high level was the regular assessment of young children’s physical, emotional, mental, social and intelligent development and giving the report of it to the guardians periodically, 3) the aspect of community participation and support was at the high level. The care-takers of young children provided assistance and advice to the guardians in case their young children encountered some problem and the community was involved in nutritional supervision, and 4) the aspect of building, location, environment and safety was at the moderate level. This aspect included cleanliness and safety of lunch and milk, cleanliness of classrooms and environmental arrangements conducive to children’s learning. 2. The suggestions given by guardians were as follows: Administrators should allocate more budget and more positions of enough children care-takers for management of the child development centers. A parking area should be provided for convenience of guardians concerning transportation and a measure should be designed to prevent the child development centers from fire. The classrooms should be decorated and well-organized. The child development centers should teach children how to write their first name and family name. The children’s writing and drawing skills should be enhanced. Modern instructional media should be provided. The community should be given an opportunity to participate in making an educational plan of the child development centers and the community should be continually notified of the information related to activities of the child development centers.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)