การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติ ต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องสารชีวโมเลกุล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT และการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น

Main Article Content

ชเนรินทร์ ศรีหาเศษ
มนตรี อนันตรักษ์
สรร ธงยศ

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3) เจตคติต่อ การเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารชีวโมเลกุล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT และการจัด การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จำนวน 87 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.68 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.27 ถึง 0.73 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.85 2) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.29 ถึง 0.78 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.77 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.78 3) แบบวัด เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.24 ถึง 0.69 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Independent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัด การเรียนรู้แบบ 4MAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น มีเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วย การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

     This study aimed to compare: 1) learning achievements, 2) science process skills, and 3) attitudes of Mathayom Suksa 6 students towards science learning on Bio-molecular Substances Using 4 MAT and 7E Inquiry Learning Management. The sample used in this study consisted of 87 Mathayom Suksa 6 (grade 12) students attending Renu Nakhon Withayanukul School, Renu Nakhon district, under the Office of Nakhon Phanom Secondary Education Service Area 22 in the first semester of academic year 2012, obtained by cluster random sampling technique. The instruments used in the study were: 1) a 40-item learning achievement test with difficulty values ranging from 0.22 to 0.68, discrimination power values ranging from 0.27 to 0.73 and reliability value of 0.85 2) a 40-item science process skills test with difficulty values ranging from 0.29 to 0.78, discrimination power values ranging from 0.30 to 0.77 and reliability value of 0.78, and 3) a 30-item test of attitude toward science learning with discrimination power values ranging from 0.24 to 0.69 and reliability value of 0.91. The statistics used for analyzing the collected data were percentage, mean, standard deviation, and t-test for testing hypotheses. The results of the study were found as follows : 1. The students who learned by 7E inquiry learning management had higher learning achievement than those who learned by 4MAT learning management at the .05 level of significance. 2. The students who learned by 7E inquiry learning management had higher attitude towards science learning than those who learned by 4MAT learning management at the .05 level of significance. 3. The students who learned by 7E inquiry learning management had higher attitude towards science learning than those who learned by 4MAT learning management at the .05 level of significance.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)