การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL

Main Article Content

นงค์รักษ์ พ่อบุตรดี
มนตรี อนันตรักษ์
ชาญวิทย์ หาญรินทร์

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและ ลอการิทึม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD และการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบ KWL 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนพระซองสามัคคีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 22 จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD และแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL 2) แบบทดสอบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.80 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.69 และความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 3) แบบทดสอบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณจำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.31 ถึง 0.80 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.43 ถึง 0.68 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบที (t-test Independent Samples) ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL มีความ สามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01

     This objectives of this study were: 1) to compare learning achievements in mathematics on the Exponential function and Logarithm function among Mathayom Suksa 5 students using STAD cooperative learning activities versus KWL learning activities, 2) to compare critical thinking abilities among Mathayom Suksa 5 students using STAD cooperative learning activities versus KWL learning activities. A sample used in this study was 50 Mathayom Suksa 5 students enrolled in the first semester of academic year 2012 at Phrasong Samakkhi Withaya School under the Office of Secondary Education Service Area 22, who were selected by purposive sampling. The tools used in the study were: 1) a learning management plan using STAD cooperative learning activities versus a learning management plan using KWL learning activities; 2) a 40-item test of learning achievement in mathematics whose difficulty values ranged between 0.25 and 0.80, discrimination power values between 0.33 and 0.69, and entire reliability coefficient of 0.93; 3) a 30-item test of critical thinking ability whose difficulty values ranged between 0.31 and 0.80, discrimination power values between 0.43 and 0.68, and entire reliability coefficient of 0.85. Statistics used to analyze data were percentage, mean, standard deviation, and t-test of independent samples for hypothesis testing. The findings showed that: 1) students who were given STAD cooperative learning activities had significantly higher learning achievement than those given KWL learning activities at the .01 level, 2) students who were given KWL learning activities had significantly higher critical thinking ability than those given STAD cooperative learning activities at the .01 level.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)