การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ สังกัดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ศรี อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

รัชดาพร ขจรโมทย์
ชัยยนต์ เพาพาน

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหา 2) แนวทางการพัฒนา 3) ผลการพัฒนาตามแนวทางการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการของครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ศรี อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัด ร้อยเอ็ด โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน (Planning) การปฎิบัติตาม แผน (Action) การสังเกต (Observation) การสะท้อนผล (Reflecting) มีกลุ่มผู้ร่วมวิจัยและผู้ให้ข้อมูล จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสังเกตและแบบประเมินผลและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล เชิงบรรยายและพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูผู้ดูแลเด็กส่วนมากไม่เคยได้รับการอบรมเรื่อง การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับเด็กปฐมวัย ทำให้ขาดความรู้และทักษะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ บูรณาการสำหรับเด็กปฐมวัย 2) ควรมีการอบรมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศแบบคลินิกเพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจในการ จัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการอย่างครบทุกขั้นตอนคือด้าน จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ (เนื้อหา) กิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ ด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้ และด้านการวัดผลและ ประเมินผล 3) ผลการพัฒนาตามแนวทางการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการของครูผู้ดูแลเด็ก พบว่า 3.1) ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ เพิ่มมากขึ้นโดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (X = 4.72) 3.2) ครูผู้ดูแลเด็กสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับ เหมาะสมมากที่สุด (X = 4.85)

     This study aimed to investigate: 1) the problem state, 2) guidelines on development, 3) the results of development according to the ways in organizing an integrated learning experience of the children’s caretakerteachers in the child development center of Phosi Sub-District Administration Organization, Phochai district, Roi-Et province using the action research methodology. The study consisted of 4 steps: planning, acting, observing and reflecting. There were 30 research participants and key informants. The instruments consisted of a semi-structured interview, an observation form, an evaluation form and a questionnaire. Descriptive data analysis was conducted. The study results revealed as follows: 1) Most of the children’s caretaker-teachers never got trained in organizing an integrated learning experience for young children. 2) The workshop and clinical supervision should be offered to provide the children’s caretaker-teachers with knowledge and understanding of organizing an integrated learning experience by writing a plan for it with all the components of learning objectives, learning substances (contents), activities and the learning process, media and learning sources, and measurement as well as evaluation. 3) The results of development according to the ways in organizing an integrated learning experience that were followed by the children’s caretaker-teachers showed that the children’s caretaker-teachers had the overall increasing knowledge at the most appropriate level (mean = 4.72). The children’s caretaker-teachers were able to organize the overall learning experience at the most appropriate level (mean = 4.85).

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)