การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องสมการและการแก้สมการการคิดวิเคราะห์ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ แบบ TGT กับ แบบ 4 MAT

Main Article Content

วิไลพร อุ่นอกพันธุ์
ทัศนา ประสานตรี
มนตรี อนันตรักษ์

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและ การแก้สมการ ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบ TGT กับแบบ 4 MAT 2) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์เรื่องสมการและ การแก้สมการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบ TGT และ แบบ 4 MAT 3) เปรียบเทียบแรงจูงใจใฝ่ สัมฤทธิ์ต่อการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องสมการและการแก้สมการของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบ TGT และแบบ 4 MAT กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอุเทนวิทยาคาร อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 2 ห้อง มี 40 คน ซึ่งได้มาโดยเลือกแบบกลุ่ม นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6/1 จำนวน 20 คนจัดการเรียนรู้แบบ TGT และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 20 คน จัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้แบบ TGT และแบบ 4 MAT รูปแบบละ7 แผน รวมเป็น 14 แผน ซึ่งมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.50/78.50 และ 83.21/72.17 แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.61 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.85 แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 20 ข้อ มีค่าความ เชื่อมั่น ทั้งฉบับ 0.83 แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ t-test (Independent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ TGT มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการ แก้สมการ สูงกว่า นักเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ TGT มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สูงกว่านักเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียน ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ TGT มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

     The purposes of this study were: 1) to compare mathematics learning achievement on ‘equation and solution of equation’ among Prathom Suksa 6 students using TGT versus 4 MAT learning management, 2) to compare analytical thinking on ‘equation and solution of equation’ among Prathom Suksa 6 students using TGT versus 4 MAT learning management, and 3) to compare mathematics learning achievement motivation on ‘equation and solution of equation’ among Prathom Suksa 6 students using TGT versus 4 MAT learning management. The samples used in this study were a total of 40 Prathom Suksa 6 students divided into 2 classes, who were selected by cluster random sampling. These two classes of students – one in room 1 and the other in room 2 were equally assigned with a number of 20 for each class of those Prathom Suksa 6 students enrolled in Uthen Withaya School, Tha-Uthen district, Nakhon Phanom province in the first semester of academic year 2012. The former group was instructed using TGT learning management, while the latter one was instructed using 4 MAT learning management. The instruments used were a total of 14 learning management plans with 7 plans for each type of both instructional techniques. The efficiency of TGT learning activities was 83.50/78.50 while that of 4 MAT was 83.21/72.17; 2) a 30-item objective test of learning achievement with 4 choices, whose discrimination power values ranged between 0.22 and 0.6 1 and entire reliability value was 0.85; 3) a 20-item test of analytical thinking ability, whose entire reliability value was 0.83; and a 20-item test of achievement motivation, whose entire reliability value was 0.88. Statistics used to analyze data were percentage, mean, standard deviation and ttest (independent samples) for hypothesis testing. The findings were as follows. 1) The students who learned using TGT learning management had a significantly higher mathematics learning achievement on ‘equation and solution of equation’ than those who learned through 4 MAT at the .05 level. 2) The students who learned using TGT learning management had a significantly higher analytical thinking ability than those who learned using 4 MAT at the .05 level. 3) The students who learned using TGT learning management had significantly higher learning achievement motivation than those who learned using 4 MAT at the .01 level.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)