การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมและทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ แบบ 4 MAT และการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

Main Article Content

รังสินี สุทธิกาศ
ทัศนา ประสานตรี
มนตรี อนันตรักษ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT และแบบสืบเสาะหาความรู้ ตามเกณฑ์ 75/75 2)หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5) เปรียบเทียบความพึงพอใจ กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านหนองเทา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 จำนวนนักเรียน 2 ห้อง รวม 47 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT จำนวน 12 ชั่วโมง การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ จำนวน 12 ชั่วโมง แบบทดสอบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากรายข้อ (P) ตั้งแต่ 0.20-0.64 ค่าอำนาจจำแนก รายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.22-0.79 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (r) เท่ากับ 0.96 แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ชนิดเลือก ตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 26 ข้อ มีค่าความยากรายข้อ (P) ตั้งแต่ 0.20-0.48 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.34-0.71 และ ค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ (r) เท่ากับ 0.93 แบบสอบถามความพึงพอใจ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ ค่าอำนาจ จำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.52-0.81 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (r) เท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Independent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ แบบ 4 MAT และแบบสืบเสาะหาความรู้ เท่ากับ 79.98 /78.48 และ 78.91/77.17 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75 2) ดัชนีประสิทธิผล ของการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT เท่ากับ 0.6040 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 60.40 และ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เท่ากับ 0.5335 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 53.35 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่า การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ในระดับมากที่สุด และต่อแบบสืบเสาะหาความรู้ในระดับมาก

 

A Comparison of Achievements in Learning on Living Things and the Environment and of Science Process Skills among Prathom Suksa 6 Students through Learning Management Approaches Using 4 MAT versus Inquiry

Rungsinee Sutikad, Tatsana Prasantree and Montree Anantarak

The purposes of this study were: 1) to investigate efficiency of management in learning science on ‘living things and the environment’ through the approaches of 4 MAT versus inquiry according to the anticipated 75/75 criterion, 2) to find an effectiveness index of learning management; 3) to compare learning achievements, 4) to compare science process skills, 5) to compare satisfaction. The target group used in study was a total of 47 Prathom Suksa 6 students selected by purposive sampling and divided into 2 groups, who were enrolled in the first semester of academic year 2012 at Ban Nong Thow School under the Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area 2. The instruments used were 4 MAT learning management plans for 12 hours of instruction; inquiry learning management plans for 12 hours of instruction; a 40-item test of achievement in learning with 4 choices, whose difficulty value of each item ranged between 0.20 and 0.64, discrimination power value of each item ranged between 0.22 and 0.79, and entire reliability value was 0.93; a 5-rating scale questionnaire of satisfaction with 15 items, whose difficulty value of each item ranged between 0.52 and 0.81 and entire reliability value was 0.92. Statistics used were percentage, mean, standard deviation and t-test (independent samples) for hypothesis testing. The results of study revealed as follows: 1) Efficiency indexes of 4 MAT learning management and of inquiry were 79.98/78.48 and 78.91/77.17 respectively, which were higher than the set criterion of 75/75. 2) the effectiveness index of 4 MAT learning management was 0.6040, showing that students’ learning advance was 53.35 percent increased; 3) the students who were managed to learn through 4 MAT had a significantly higher learning achievement than those who were managed to learn through inquiry at the .01 level; 4) the students who were managed to learn through 4 MAT had a significantly higher science process skill than those who were managed to learn through inquiry at the .01 level; and 5) the students had satisfaction with 4 MAT learning management at the highest level and with inquiry at the high level.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)