การส่งเสริมวินัยนักเรียนของโรงเรียนในอำเภอปลาปาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการส่งเสริมวินัยนักเรียนของโรงเรียนในอำเภอปลาปาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษานครพนม เขต 1 2) เปรียบเทียบการส่งเสริมวินัยนักเรียน ตามความคิดเห็นของ ครูผู้สอนและนักเรียน 3) เปรียบเทียบ การส่งเสริมวินัยนักเรียน ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนและนักเรียน จำแนกตามขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 362 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยใช้ตารางของเคร็จซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.26-0.76 และได้ค่าความ เชื่อมั่นเท่ากับ 0.9 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) โรงเรียนส่งเสริมวินัยนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ครูผู้สอนและนักเรียนโดยรวมและรายด้านมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3) ผู้สอนและนักเรียนในขนาดโรงเรียนโดยรวมและรายด้าน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
This research aimed to: 1) investigate the promotion of student’s discipline in Plapak district schools under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1, 2) compare the promotion of student’s discipline according to the opinions of teachers and students, and 3) to compare the promotion of student’s discipline as perceived by teachers and students of different-sized schools. A sample of 362 people used in the study was selected by stratified random sampling. The sample size was determined using a grid of Krejcie and Norgan. The instrument used was a 5-rating scale questionnaire which had discrimination values of a 0.26-0.76 range and a reliability value of 0.9. Statistics used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation, and t-test including F-test for hypothesis testing. The results showed that : 1) the schools promoted student’s discipline as a whole at high level; 2) the opinions of teachers and students were not different as a whole and each aspect; 3) the teachers and students with their opinion as a whole and each aspect showed no difference at the .01 level of significance.