การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษา เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตบอล และการควบคุมอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค JIGSAW กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ

Main Article Content

วีระศักดิ์ ศรีสมุทร
ทัศนา ประสานตรี
มนตรี อนันตรักษ์

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษา เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตบอล โดยใช้ การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw และการจัดการเรียนรู้แบบปกติที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนี ประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนและการควบคุมอารมณ์ของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาพลศึกษาของนักเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw กับการจัดการเรียนรู้ แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนนาถ่อนวิทยานุกูล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 จำนวน 2 ห้องละ 20 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw และแบบปกติ แบบประเมินทักษะปฏิบัติกีฬาฟุตบอล แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากตั้งแต่ 0.34 ถึง 0.73 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.35 ถึง 0.75 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 แบบวัดการควบคุมอารมณ์ จำนวน 7 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ มีอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.36 ถึง 0.75 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test (Independent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw เท่ากับ 88.07/87.50 และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เท่ากับ 83.69/81.33 2) ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw เท่ากับ 0.7768 และดัชนีประสิทธิผล ของการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เท่ากับ 0.6637 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและการควบคุมอารมณ์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Jigsaw มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัด การเรียนรู้แบบปกติ

     The purposes of this study were: 1) to develop physical education learning management plans on “Football Basic Skills” through jigsaw cooperative learning management and traditional learning based on the efficiency criterion set at 80/80, 2) to examine the effectiveness indexes of jigsaw cooperative learning management and traditional learning, 3) to compare the learning achievements and the emotional controls among students through jigsaw cooperative learning management as against traditional learning, and 4) to investigate students’ satisfaction of physical education learning by jigsaw cooperative learning management and by traditional learning. The sample in this study as selected by purposive sampling was 2 equal classes of which each comprised 20 Prathom Suksa 6 students who were enrolled in the first semester of academic year 2011 at Nathon Withayanukul School under the Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area 1. The instruments used in this study were: learning management plans for both of jigsaw cooperative learning management and traditional learning; a form for assessing practical skills in football; a 30-item learning achievement test whose difficulty values ranged between 0.34 and 0.73, discrimination power values between 0.35 and 0.75 and reliability value was 0.85; a 7-item emotional control test whose reliability value was 0.91; a 40-item questionnaire of satisfaction whose discrimination power values ranged between 0.36 and 0.75, and reliability value was 0.87. Statistics used to analyze data were percentage, mean, standard deviation and t-test of independent samples for hypothesis testing. The findings were as follows: 1) The efficiency of jigsaw cooperative learning management plan was 88.07/87.50, while that of traditional learning was 83.69/81.33; 2) the effectiveness index of jigsaw cooperative learning management was 0.7768, while that of traditional learning was 0.6637; 3) the students who learned through jigsaw cooperative learning management had a higher achievement of learning and a higher emotional control than those who learned through traditional learning at the .01 level of significance; and 4) the students who learned through jigsaw cooperative learning management had a higher mean score of satisfaction than those who learned through traditional learning.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)