ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น ประเทศเวียดนาม

Main Article Content

Mai Xuan Hung
สืบชาติ อันทะไชย
สมคิด สร้อยน้ำ

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย กว๋างบิ่น 2) ศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด และปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของ นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น 3) ศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้า ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น จำแนกตาม เพศ สาขาที่ศึกษา และระดับชั้นที่ศึกษา 4) ศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกว๋างบิ่น จำแนกตาม เพศ ตามสาขา ที่ศึกษา และระดับชั้นที่ศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษา จำนวน 402 คน ที่ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นไม่เป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.90 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และ F-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 21 ปี เป็นนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี มากกว่าสาขาวิชาบริหารธุรกิจ และนักศึกษาปีที่ 4 มากที่สุด ก่อนเข้าศึกษาส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีภูมิลำเนาเดิมอยู่จังหวัดกว๋างบิ่น 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง และปัจจัยภายนอกโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมการตลาด พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ที่มีเพศ และสาขาที่ศึกษาต่างกันมีการตัดสินใจต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาด ไม่แตกต่างกัน และกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับชั้นต่างกัน มีการตัดสินใจต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยภายนอก พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ และสาขาที่ศึกษาต่างกันมีการตัดสินใจต่อปัจจัยภายนอกไม่แตกต่างกัน และกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับชั้น ต่างกัน มีการตัดสินใจต่อปัจจัยภายนอกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

     The purposes of this research were: 1) to investigate the general state of students at the undergraduate level in the Faculty of Economics, Quang Binh University, 2) to examine the factors of a marketing mix and the external factors influencing the decision making of undergraduate students in pursuing a bachelor degree in the Faculty of Economics, Quang Binh University, 3) to compare the marketing mix factors influencing the decision making of undergraduate students in pursuing a bachelor degree in the Faculty of Economics, Quang Binh University as classified by gender, program and particular year of study, 4) to compare the external factors influencing the decision making of undergraduate students in pursuing a bachelor degree in the Faculty of Economics, Quang Binh University by gender, program and particular year of study. The sample of 402 students used in this study was selected by non- proportional random sampling. The tools used in this study were a rating scale questionnaire whose entire reliability value was 0.90. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test with the statistical significance determined at the .05 level. The findings were as follows: 1) Most of the respondents were female students with 21 years of age. There were more students in the accounting program than in the business administration program; and most of them were fourth-year students. Before being admitted to the University, most of them graduated high school and became domiciled in Quang Binh province. 2) As for the marketing mix factors as a whole, it was found at the moderate level; and as for the external factors as a whole, it was found at the high level. 3) The results of comparing the marketing mix factors were found that the students with different genders and programs had no difference in their decision-making of the marketing mix factors, while the students with different particular years of study had a significant difference in it at the .05 level. And 4) the results of comparing the external factors were found that the students with different genders and programs had no difference in their decision-making of the external factors, while the students with different particular years of study had a significant difference in it at the .05 level.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)