รูปแบบกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

พันวนา พัฒนาอุดมสินค้า
สุวรรณ นาคพนม

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สร้างรูปแบบกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) ตรวจสอบรูปแบบกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ประกอบไปด้วย ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายและควบคุมการบริหารของโรงเรียน ผู้บริหาร โรงเรียนระดับเชี่ยวชาญ และครูผู้สอนระดับเชี่ยวชาญ ได้มาจากการ สุ่มแบบชั้นภูมิ กลุ่มที่ 2 ประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนครูวิชาการโรงเรียน และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 368 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และกลุ่มที่ 3 ใช้ตัวอย่างเหมือน กลุ่มที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าชนิดจัด ลำดับคุณภาพ 5 ระดับ ของลิเคิร์ท ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.868 และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การบริหารงานบุคคล การอำนวยการ การกระตุ้นการทำงาน การประสานงาน การควบคุม การจัดทำงบประมาณการเงิน และการเสนอรายงานและประเมินผล 2) รูปแบบ กระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา พบว่า ตัวแปรสังเกตได้ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยอยู่ ในระดับมาก มีค่าส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐานใกล้เคียงกัน ผลการวิเคราะห์รูปแบบกระบวนการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา แสดงว่าตัวแปรสังเกตได้ ในแบบจำลองถือเป็นองค์ประกอบที่แท้จริงตามกรอบแนวคิดการวิจัย ผลการวิเคราะห์พบว่าความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่กำหนดเป็น เส้นอิทธิพลที่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ผลการตรวจสอบรูปแบบกระบวนการบริหาร ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา พบว่า ผู้ทรง คุณวุฒิมีความเห็นว่า รูปแบบที่สร้างขึ้นมีความถูกต้อง เหมาะสม ความเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์

     The purposes of this study were: 1) to examine the components of administrative process that would affect the educational quality development in basic education schools, 2) to create an administrative process model that would affect the educational quality development in basic education schools, and 3) to verify the administrative process model that would affect the educational quality development in basic education schools. The samples used in this study were divided into 3 groups: The first group comprised administrators who were involved with policy making and control of administration, expert school administrators and expert teachers obtained by stratified random sampling. The second group comprised school directors, deputies of school directors or acting persons, academic teachers, and head-teachers of learning strands in basic education schools under the Offices of Primary Education Service Areas. The samples of 368 people were obtained by multi-stage random sampling. The sample of the third group was the same as that of the first group. The tools used in this study were: 1) a structured interview guide, 2) a Likert’s-like 5-rating scale questionnaire with the reliability value of 0.868, and 3) a questionnaire of opinion. Statistics used to analyze data were percentage, standard deviation and path analysis through Lisrel. The results revealed as follows: 1) The administrative process that affects the educational quality development consists of 10 factors, namely, planning, organizing, staffing, directing, stimulating, coordinating, controlling, budgeting, reporting and evaluating. 2) The administrative process model that affects the educational quality development was found that most of the observed variables had high-level mean scores with the standard deviations being so close. The results of analyzing the administrative process model which affects the educational quality development showed that the observed variables on the model are the real factors according to the conceptual framework of study. The results of analysis were found that the causal relationships determined by influential lines were statistically significant. 3) The results of verifying the administrative process model that affects the educational quality development were found by the experts that the created model was accurate, appropriate, feasible and useful.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)