ความคิดเห็นของคณาจารย์ที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนกลาง

Main Article Content

สันต์ชัย พูลสวัสดิ์

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของคณาจารย์ที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ส่วนกลาง 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของคณาจารย์ ที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนกลาง จำแนกตาม สถานภาพส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์ ประชากรที่ ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คณาจารย์สถาบัน อุดมศึกษาเอกชนส่วนกลาง จำนวน 2,800 คน ผู้วิจัยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดย ใช้วิธีเปรียบเทียบกับตารางสำเร็จรูปของเครจซี และมอร์แกน (Krejcie and Morgan. 1970) ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยใช้ t-test และ F-test

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของคณาจารย์ที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนกลาง โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความสามารถในการสื่อสาร รองลงมาคือด้านความ สามารถในการแก้ปัญหา และด้านหลักธรรมาภิบาล ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จของงาน และด้าน ความเชื่อมั่นในตนเอง 2) ความคิดเห็นคณาจารย์ที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนกลาง ซึ่งมีเพศ ระดับ การศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ ประสบการณ์ แตกต่างกัน มีความเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนคณาจารย์ที่มีอายุต่างกันมีความเห็นโดยรวมและ รายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

     The purposes of this study were: 1) to investigate the opinions of private higher learning institutions’ faculty on their administrator’s leadership in Central Private Tertiary Education, 2) to compare the respondents’ opinions on their administrator’s leadership in Central Private Tertiary Education as classified by sex, age, educational level, job position and work experience. The study population was 2,800 private higher learning institutions’ faculty. A sample size of 338 was determined using the Krejcie and Morgan’s table. The instrument used for collecting data was a rating scale questionnaire. Statistics used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation and t-test as well as F-test for testing a means difference.

The findings of the study were as follows: 1) The opinions of private higher learning institutions’ faculty on their administrator’s leadership as a whole and each aspect were at high level; the aspect that gained the highest mean score was of ability to communicate, while the aspects of ability to solve the problems and of good governance ranked next; the aspects that gained the lowest mean scores were of being determined to accomplish the task and of being self-confident. 2) There was no significant difference in opinion of private higher learning institutions’ faculty of different sexes, educational levels, job positions and work experiences, but there was a significant difference as a whole and each aspect among those whose ages were different at the .01 level of significance.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)