การประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอธาตุพนม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

Main Article Content

ดวงจันทร์ ประเคนคะชา
รชฏ สุวรรณกูฏ
สุเทพ ทองประดิษฐ์

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อ เปรียบเทียบการประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอธาตุพนม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 จำแนกตามสถานภาพ และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 180 คน ได้แก่ ผู้บริหาร สถานศึกษา จำนวน 38 คน และครู จำนวน 142 คน ในอำเภอธาตุพนม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ โดยผู้บริหารสถานศึกษาใช้เกณฑ์ร้อยละ 80 และครูใช้เกณฑ์ร้อยละ 30 การเลือก กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.42-0.86 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (Independent Samples) และ F-test (One-Way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า 1) การประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อ พิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) มีความคิดเห็นต่อการประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหาร สถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและครู โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ในด้านจรรยาบรรณต่อสังคม โดยผู้บริหารสถานศึกษามีความคิดเห็นสูงกว่าครู 3) ผู้บริหารและครูในโรงเรียนที่มีข้อคิด ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมไมแ่ ตกต่างกัน เมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนขนาดใหญ่ มีความคิด เห็นต่อการประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารต่อผู้รับบริการ สูงกว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในโรงเรียน ขนาดเล็กและในโรงเรียนขนาดกลาง และผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนขนาดใหญ่ มีความคิดเห็นต่อการประพฤติปฏิบัติตน ตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ สูงกว่าผู้บริหารสถานศึกษา และครู ในโรงเรียนขนาดกลาง

     The purposes of this study were: 1) to investigate self-conduct according to the code of professional ethics of school administrators, 2) to compare self-conduct according to the code of professional ethics of school administrators in Thatphanom district under Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area 1 based on the opinion of respondents as classified by status and school size. The sample of 180 people included 38 school administrators and 142 teachers in Thatphanom district under Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area 1. The sample size was determined based on the percentage criteria. The criterion of 80 percent sample size was employed for school administrators while for the teachers the criterion used was of 30 percent sample size. The sample was selected by stratified random sampling. The instrument used was a 5-rating scale questionnaire whose discrimination power values ranged between 0.42 and 0.86 and entire reliability value was 0.97. Statistics used to analyze data were percentage, mean, standard deviation, t-test of independent samples and one-way ANOVA (F-test).

The findings were as follows. 1) The self-conduct according to the code of professional ethics of school administrators as a whole was at high level. Considering it by aspect, all of them were at high level. 2) School administrators and teachers had no difference in their opinion on self-conduct according to the code of professional ethics of school administrators as a whole. Considering it by aspect, the aspect of rule of conduct for society was found significantly different at the .05 level. The school administrators’ opinion was found at higher level than that of the teachers. 3) School administrators and teachers had no difference in their overall opinion on self-conduct according to the code of professional ethics of school administrators. Considering it by aspect, it was found significantly different at the .05 level in the aspect of self-conduct according to the code of professional ethics of school administrators for clients. In this aspect, school administrators and teachers in the large-sized schools had their higher level of opinion than that expressed by those school administrators and teachers in both the small-sized and the medium-sized schools. School administrators and teachers in the largesized schools had their higher level of opinion than that expressed by those school administrators and teachers in the medium-sized schools in the aspect of self-conduct according to the code of professional ethics of school administrators for professional fellow workers.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)