การดำเนินการตามแนวการปฏิรูปการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครพนม เขต 1

Main Article Content

วีระพงษ์ อุปแก้ว
สุเทพ ทองประดิษฐ์

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการดำเนินงานตามแนวการปฏิรูปการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการประถมศึกษานครพนม เขต 1 และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อ การดำเนินงานตามแนวการปฏิรูปการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนประถมศึกษา จำแนกตามสถานภาพและ ขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 487 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 156 คน ครูผู้สอน จำนวน 331 คน โดยการใช้ตาราง Krejcie and Morgan และกลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33-0.69 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t–test (Independent Samples) และทดสอบความแปรปรวน แบบทางเดียว หากพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทดสอบ รายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe)

ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินการตามแนวการปฏิรูปการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนประถมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผู้ตอบที่มีสถานภาพต่างกันมีความคิดเห็นต่อการดำเนินการตามความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 แต่เมื่อพิจารณาตามขนาดโรงเรียน พบว่า มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ

     The purposes of this study were: 1) to investigate a degree of operating the school-based approach of reform to learning the environment in primary schools under Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area 1 and 2) to compare opinion on operating the school-based approach of reform to learning the environment in primary schools as classified by status and school size. A sample selected by stratified random sampling in this study was a total of 487 administrators and teachers comprising 156 administrators and 33 teachers. The sample size was determined using Krejcie and Morgan’s table. The instrument used for collecting data was a 5–rating scale questionnaire whose discrimination power values ranged between 0.33 and 0.69 and reliability value was .94. Statistics used to analyze data were percentage, mean, standard deviation, t-test of independent samples for hypothesis testing and one-way ANOVA. In case a significant difference was found, the pairwise comparison using the Scheffe’s test was made.

The findings of study disclosed as follows: operating the school-based approach of reform to learning the environment in primary schools as a whole was at high level. The respondents whose statuses were different had a significant difference in their opinion on operating the school-based approach of reform to learning the environment at the .01 level. As considered by school size, the respondents’ opinions were not found significantly different.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)