การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชนของสถานศึกษา ในสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชนของสถานศึกษา สังกัดเทศบาล เมืองนครพนม จังหวัดนครพนม จำแนกตามขนาดสถานศึกษาและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จำนวน 129 คน เลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจ จำแนกระหว่าง 0.326-0.750 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.953 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว F-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการส่งเสริม ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประสบการณ์ระหว่างบุคคล ครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการศึกษา สำรวจความต้องการ สนับสนุนงานวิชาการแก่ชุมชน 2) การเปรียบเทียบการส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชนของสถานศึกษาใน สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม จำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า ด้านการศึกษา สำรวจความต้องการ สนับสนุน งานวิชาการแก่ชุมชน ด้านการส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชน ท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวิชาการของสถานศึกษา และที่จัด โดยบุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา และด้านการส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ ประสบการณ์ระหว่างบุคคล ครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น และโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสถานศึกษา ขนาดใหญ่พิเศษกับสถานศึกษาขนาดกลาง มีระดับความคิดเห็นมากกว่าสถานศึกษาขนาดใหญ่ เมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า ด้านการศึกษา สำรวจความต้องการ สนับสนุนงานวิชาการแก่ชุมชน ด้านการจัดให้ความรู้ เสริมสร้างความคิด เทคนิค ทักษะทาง วิชาการเพื่อการพัฒนาทักษะวิชาชีพ และคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนท้องถิ่น และด้านการส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชน ท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวิชาการของสถานศึกษา และที่จัดโดยบุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่ จัดการศึกษา และโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยบุคลากรที่มีประสบการณ์การทำงานสูงกว่า 10 ปี มีระดับความคิดเห็นมากกว่าบุคลากรที่มีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 5-10 ปี และบุคลากรที่มีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 5-10 ปี มีระดับความคิดเห็นมากกว่าบุคลากรที่มีประสบการณ์การทำงานต่ำกว่า 5 ปี
The purpose of this study was to investigate and compare the promotion of academic knowledge given to the community by schools affiliated with Nakhon Phanom Municipality, Nakhon Phanom province according to the sample as classified by school size and work experience. A sample of 129 people was selected by stratified random sampling. The instrument used was a 5-rating scale questionnaire whose discrimination power values ranged between 0.326 and 0.750 and reliability value was 0.953. Statistics used were percentage, mean, standard deviation, and one-way ANOVA (F-test).
The findings showed as follows: 1) the promotion of academic knowledge given to the community as a whole was at high level. The aspect that gained the highest mean score was the promotion of exchange in learning and experience between persons, families, communities and localities. The aspect that gained the lowest mean score was the promotion of studying, surveying the needs and giving an academic support to the community; 2) a comparison of promoting academic knowledge to the community by schools affiliated with Nakhon Phanom Municipality, Nakhon Phanom province as classified according to the school size was found that the aspect of studying, surveying the needs and giving an academic support to the community, the aspect of promoting the local people in the community to participate in academic activity of schools offered by individuals, families, organizations, work units and other institutions of study and the aspect of promoting an exchange of learning and experience between people, families, communities, localities were found significantly different at the .05 level. Those respondents in the extra large-sized and medium-sized schools had their higher level of opinion on the promotion of academic knowledge than that expressed by those respondents in the large-sized schools. As classified by work experience of the respondents, the aspect of providing knowledge, enhancement of the thinking, technique, academic skill for developing the professional skill and life quality of people in the local community, and the aspect of promoting people in the local community to participate in academic activity of schools offered by individuals, families, organizations, work units and other institutions of study were found significantly different at the .05 level. The respondents whose work experience was over 10 years had a higher level of opinion on the promotion of academic knowledge than that expressed by those respondents whose work experience ranged from 5 to 10 years. The respondents whose work experience ranged from 5 to 10 years had a higher level of opinion than that expressed by those whose work experience was lower than 5 years.