รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการ การศึกษาระดับมัธยมศึกษาภายใต้กรอบปฏิญญาอาเซียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการการศึกษาระดับมัธยมศึกษา และ 3) ตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการการศึกษาระดับ มัธยมศึกษา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษา องค์ประกอบสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ และระยะที่ 3 ตรวจสอบรูปแบบ ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ประชากรในการวิจัยคือผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั่วประเทศจำนวน 2,361 คน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 580 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาประกอบด้วย10 สมรรถนะเรียงลำดับจาก สูงสุดไปต่ำสุดตามลำดับ ได้แก่ สมรรถนะด้านการสื่อสารและการจูงใจ (Communication and Motive) ด้านการมีวิสัยทัศน์ (Vision) ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร (Staff-Ability Development) ด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ (Analysis and Synthesis) ด้านการทำงานเป็นทีม (Teamwork) ด้านการพัฒนาตนเอง (Self-Development) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Focus) ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) ด้านการใช้ภาษาและเทคโนโลยี (Language and Technology) และด้านการบริการที่ดี (Good Service) 2) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาระดับ มัธยมศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการการศึกษาระดับมัธยมศึกษาภายใต้กรอบปฏิญญาอาเซียนที่พัฒนาขึ้น มีลักษณะเป็นโครงสร้าง ของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร ส่วนที่ 2 การบริหารจัดการ การศึกษาภายใต้กรอบปฏิญญาอาเซียน ส่วนที่ 3 เส้นทางการส่งผลของตัวแปรสังเกตได้ เป็นรูปแบบสมมุติฐานที่ผ่านการตรวจสอบ ความสอดคล้องและความเป็นไปได้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการการศึกษาระดับมัธยมภายใต้กรอบปฏิญญาอาเซียนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
This study aimed: 1) to investigate secondary school administrators’ desirable competency components, 2) to develop a causal relationship model of administrators’ desirable competency which affects secondary education administration, and 3) to examine the causal relationship model of administrators’ desirable competency which affects secondary education administration. This study employed a mixed research methodology. The study was divided into 3 stages: stage 1 – investigating the components of administrators’ desirable competency, stage 2 – developing a causal relationship model, and stage 3 – examining the causal relationship model. Population in the study was 2,361 secondary school administrators under Office of the Basic Education Commission. A sample of 580 secondary school administrators was selected by multi-stage random sampling.
The findings showed as follows: 1) The school administrators’ desirable competency was composed of 10 aspects as arranged in order from the highest ranking aspect to the lowest one respectively, namely communication and motive aspect, vision aspect, staff-ability development aspect, analysis and synthesis aspect, teamwork aspect, self-development aspect, achievement focus aspect, transformational leadership aspect, language and technology aspect, and good service aspect. 2) The developed causal relationship model of secondary school administrators’ desirable competency affecting secondary education administration as confined to the ASEAN Declaration was composed of 3 parts: part 1 – administrators’ desirable competency, parts 2 – educational administration as confined to the ASEAN Declaration, and part 3 – the affecting routes of observable variables. 3) The developed causal relationship model of secondary school administrators’ desirable competency affecting secondary education administration as confined to the ASEAN Declaration had a significant goodness of fit with the empirical data.