รูปแบบการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการบริหารจัดการ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

พิตรพิบูล ไชยเมือง
สังคม ศุภรัตนกุล
ประจญ กิ่งมิ่งแฮ
ณัฐ อมรภิญโญ

Abstract

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ 2) ศึกษา องค์ประกอบปัจจัยการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการบริหารจัดการ และ 3) พัฒนารูปแบบการเสริมสร้าง เครือข่ายทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการบริหารจัดการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดหนองบัวลำภู ใช้วิธีการศึกษาแบบ ผสม (Mixed Methods) แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของเครือข่าย และ การเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคม กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ประธานหรือผู้แทน จำนวน 15 กลุ่มองค์กร ด้วยแบบ สัมภาษณ์เชิงลึก ประเด็นการสนทนากลุ่ม และแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม นำเสนอผลการวิเคราะห์แบบการพรรณนาวิเคราะห์ ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 530 กลุ่มองค์กร ด้วยเครื่องมือแบบสอบถาม และระยะที่ 3 เป็นการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคม โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ การวิเคราะห์ปัจจัย (EFA) การวิเคราะห์องค์ประกอบยืนยัน CFA)และสมการโครงสร้าง (SEM) นำเสนอผลการวิเคราะห์ในรูปแบบสถิติ พรรณนา และสถิติอนุมาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยในกระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการในองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยปัจจัยทุนทางสังคม (\inline \bar{x} = 3.42, S.D. = 0.65) ปัจจัยเครือข่ายทางสังคม (\inline \bar{x} = 3.30, S.D. = 0.83) ปัจจัยกระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคม (\inline \bar{x} = 3.18, S.D. = 0.71) ปัจจัยคุณภาพการบริหารจัดการในองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น (\inline \bar{x} = 3.15, S.D. = 0.77) และปัจจัยการมีส่วนร่วม (\inline \bar{x} = 3.02, S.D. = 0.84) ซึ่งแปลผล โดยภาพรวมได้ในระดับปานกลาง 2) องค์ประกอบปัจจัยการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการบริหารจัดการ มี 7 ปัจจัย ได้แก่ (1) เครือข่ายทาง สังคม (2) ทุนทางสังคม (3) กระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคม (4) การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ (5) การมีส่วนร่วมใน การบริหาร (6) กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และ (7) คุณภาพการบริหารจัดการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งอธิบาย ความแปรปรวนสะสม ได้ร้อยละ 65.1 3) คุณภาพการบริหารจัดการได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ (\inline \bar{x} = 0.56) และปัจจัยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (\inline \bar{x} = 0.56) ในขณะเดียวกัน ยังได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากปัจจัยทุนทางสังคม และปัจจัยเครือข่ายทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถพยากรณ์คุณภาพการบริหารจัดการ ได้ร้อยละ 46.5 

     The objectives of this study were to: 1) investigate a social network which reinforces factors in developing the quality of administration, 2) examine components of the social network reinforcing factors which influence the quality of administration, and 3) develop a model of social network reinforcement which influences the quality of administration in local administration organizations, Nong Bua Lamphu province. Mixed methods were employed in this study which was divided into 3 phases. Phase 1 was a qualitative study of development and reinforcement of social network. The target group consisted of community leaders and chairpersons/ representatives of 15 groups of organizations. The instruments used were an in-depth interview guide, group discussion issues and a participatory observation form. The presentation of analytical result was made in descriptive analysis. Phase 2 was a quantitative study through analyzing the components of reinforcing the social network. A sample comprised 530 groups of organizations. The instrument used was a questionnaire. And phase 3 was development of a model for reinforcing the social network. The data were analyzed using exploratory factor analysis (EFA), confirmatory factor analysis (CFA) and structural equation modeling (SEM) analysis. The presentation of analytical result was made in descriptive and inferential statistics.

The findings revealed as follows. 1) The factors in the process of reinforcing the social network in development of the quality of administration in local administration organizations consisted of that of social fund (\inline \bar{x} = 3.42, S.D. = 0.65), that of social network (\inline \bar{x} = 3.30, S.D. = 0.83), that of social network reinforcing process (\inline \bar{x} = 3.18, S.D. = 0.71), that of quality of administration in local administration organizations (\inline \bar{x} = 3.15, S.D. = 0.77) and that of participation (\inline \bar{x} = 3.02, S.D. = 0.84), of which all was interpreted as a whole at moderate level. 2) The factors of social network reinforcement influencing the quality of administration have 7 components: (1) social network, (2) social fund, (3) process of reinforcing the social network, (4) participation in action, (5) participation in administration, (6) learning process based on the problem, and (7) quality of administration in the local administration organization. These components could describe 65.1% of the cumulative variants. 3) The quality of administration was directly influenced by the factor of participation in action (\inline \bar{x} = 0.56) and by the factor of learning process based on the problem (\inline \bar{x} = 0.26). Meanwhile, it was indirectly influenced by the factor of social fund and that of social network at the .01 level of significance. And it was able to predict the quality of administration with 46.5% accuracy.)

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)